แนวคิดและหลักการสำคัญในกระบวนการยุติธรรม

76 โดยหลักข้างต้นการค้นหาความจริงที่มีความ เป็นธรรมกับทุกฝ่ายจะต้องเป็น พยานหลักฐานที่เกี่ยวข้องกับคดีอาญา 3 ประการคือ 143 (1) พยานหลักฐานที่เป็นผลร้ายแก่ผู้ต้องหา (2) พยานหลักฐานที่เป็นผลดีแก่ผู้ต้องหา (3) พยานหลักฐานที่เกี่ยวกับเหตุบรรเทาโทษของผู้ต้องหา ในกรณีนี้ผู้เขียนเห็นว่า อย่างไรก็ตาม เมื่อพิจารณาจากคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5766/2549 ซึ่งมีสาระสำคัญว่า แม้ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 131 จะ บัญญัติว่า “ให้พนักงานสอบสวนรวบรวมพยานหลักฐานทุกชนิดเท่าที่สามารถจะทำได้ เพื่อประสงค์ จะทราบข้อเท็จจริงและพฤติการณ์ต่าง ๆ อันเกี่ยวกับความผิดที่ถูกกล่าวหา และเพื่อจะรู้ตัวผู้กระทำ ความผิดและพิสูจน์ให้เห็นความผิด แต่บทบัญญัติดังกล่าว “หาได้บังคับให้เจ้าพนักงานจำต้องรวบรวม พยานหลักฐานที่เกี่ยวข้องในคดีทั้งหมดรวมเข้าไปในสำนวนแต่อย่างใด พนักงานสอบสวนย่อมมี ดุลพินิจที่จะรวบรวมหรือไม่รวบรวมหลักฐานอะไรเข้าไว้ในสำนวนก็ได้” กล่าวคือ อำนาจในการ รวบรวมพยานหลักฐานเป็นดุลพินิจของพนักงานสอบสวน เมื่ออำนาจดังกล่าวไม่มีการตรวจสอบจากภายนอกในการควบคุมและการตรวจสอบ นอกจากการฝากขังยังมีอุปสรรคในเรื่องของการตรวจสอบพยานหลักฐาน ทำให้การใช้อำนาจของ องค์กรตำรวจดังกล่าวอาจเกิดปัญหาได้เนื่องจากการที่ตำรวจเป็นองค์กรที่เป็นทั้งผู้จับกุมและผู้สอบ สวนในเวลาเดียวกัน จึงมีลักษณะของการขัดกันของหน้าที่ (Principle of Incompatibility) 144 อัน เป็นเรื่องเดียวกันกับการสวมหมวกหลายใบ 145 หรือประโยชน์ทับซ้อน และขาดการตรวจสอบและการ คานอำนาจซึ่งกันและกันในการควบคุมตัว ทำให้เกิดการใช้อำนาจอาจเป็นไปตามอำเภอใจ ส่งผล กระทบต่อสิทธิเสรีภาพของประชาชนได้ในขณะเดียวกัน และความที่องค์กรตำรวจเป็นองค์กรเดียวที่ มีอำนาจในการสอบสวนการรวบรวมพยานหลักฐานในการสอบสวนผู้ต้องหาจึงขาดการตรวจสอบ 143 ธานิศ เกศวพิทักษ์. (2550). คำอธิบายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาภาค 1- 2. กรุงเทพ: สำนักเนติบัณฑิตยสภา. น. 108 144 อุทัย อาทิเวช. (2554). รวมบทความกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาฝรั่งเศส. พิมพ์ครั้ง ที่ 1 กรุงเทพ: ห้างหุ้นส่วนจำกัด วี.เจ. พริ้นติ้ง. น. 205 145 คณิต ณ นคร. (2551). ภูมิธรรมและบทบาทของพนักงานอัยการ. กรุงเทพ: วิญญูชน. น. 186

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3