แนวคิดและหลักการสำคัญในกระบวนการยุติธรรม
77 อำนาจในการรวบรวมพยานหลักฐานจากองค์กรอื่น อาจทำให้ใช้อำนาจโดยมิชอบบิดเบือน พยานหลักฐาน ย่อมสามารถส่งผลต่อกระบวนการยุติธรรมในทางอาญาได้ ดังนั้น การใช้ดุลพินิจในการตั้งข้อหาจึงต้องกระทำไปด้วยความเข้าใจในความเป็นเสรีนิยม โดยการพิจารณาจากคำให้การของผู้เสียหาย พยานหลักฐาน ตลอดจนคำให้การของผู้ต้องหา พนักงานสอบสวนจะต้องใช้ดุลพินิจชั่งน้ำหนักพยานหลักฐานเพียงพอที่จะเชื่อได้ว่าผู้ถูกกล่าวหาน่าจะ เป็นผู้กระทำความผิดตามข้อหาที่ตั้งอย่างแท้จริง โดยใช้ดุลพินิจอย่างเป็นธรรมภายใต้พื้นฐาน พยานหลักฐานที่เป็นธรรม ก่อนนำมาปรับกับข้อกฎหมายแล้วตั้งเป็นข้อหา ทั้งนี้ ต้องรวบรวม พยานหลักฐานเท่าที่ทำได้ ด้วยความบริสุทธิ์ยุติธรรม โดยปราศจากอคติหรือแนวคิดเชิงอำนาจนิยม และไม่ควรใช้ช่องทางตามที่กฎหมายให้อำนาจเกี่ยวกับการรวบรวมพยานหลักฐานเพื่อตั้งข้อหา รวบรวมเฉพาะหลักฐานที่จะพิสูจน์ความผิดของผู้ต้องหา หรือเลือกที่จะตั้งข้อหาที่รุนแรงเพื่อความ สะดวกในการเอาตัวบุคคลไว้ในอำนาจรัฐ โดยขาดน้ำหนักของพยานหลักฐาน 5.2.2 การตั้งข้อหากับมาตรการบังคับ แม้การตั้งข้อหาจะมิได้เป็นส่วนหนึ่งของมาตรการบังคับโดยตรง แต่ความหนักเบาแห่ง ข้อหาที่ตั้งนั้นเป็นเหตุหนึ่งในการพิจารณาถึงความจำเป็นในการเอาตัวบุคคลไว้ในอำนาจรัฐ และถูกใช้ เป็นมูลเหตุในการอ้างถึงความจำเป็นเพื่อใช้มาตรการบังคับ ซึ่งแม้จะเป็นเหตุสำคัญรองแต่ก็ปรากฏอยู่ ในมาตรการบังคับต่าง ๆ เช่น เหตุแห่งการออกหมายจับ การออกหมายจับในกรณีความผิดอาญา ร้ายแรง ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 66 (1) วางหลักให้การขอออกหมายจับใน กรณีความผิดอาญาที่มีอัตราโทษจำคุกอย่างสูงเกิน 3 ปี สามารถขอออกหมายจับได้ทันที เนื่องจากถือ เป็นความผิดอาญาร้ายแรง ดังนั้น เมื่อมีพยานหลักฐานตามสมควรว่าผู้นั้นน่าจะเป็นผู้กระทำความผิด เจ้าพนักงานสอบสวนสามารถทำคำร้องขอให้ศาลออกหมายจับได้ โดยไม่จำเป็นต้องพิสูจน์เหตุ ประการอื่นอีก การขังระหว่างสอบสวนหรือการฝากขัง ซึ่งการออกหมายขังนั้น อาศัยเหตุเช่นเดียวกับการ ออกหมายจับ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 71 นอกจากนี้ ศาลจะมีอำนาจ สั่งขังได้กี่ครั้ง แต่ละครั้งนานเท่าไร ยังขึ้นอยู่กับความร้ายแรงของโทษ ตลอดจนการปล่อยตัวชั่วคราว ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญายังได้บัญญัติวาง แนวทางการใช้ดุลยพินิจในการสั่งคำร้องขอปล่อยชั่วคราวไว้ในมาตรา 108 ซึ่ง (1) คือความหนักเบา แห่งข้อหา นอกจากนี้ ในการกำหนดวงเงินประกันในการประกันตัว คดีที่มีอัตราโทษจำคุกอย่างสูง เกินห้าปีขึ้นไป ผู้ที่ถูกปล่อยชั่วคราวต้องมีประกัน และมีหลักประกันด้วยหรือไม่ก็ได้ ในการพิจารณา ว่าการปล่อยชั่วคราวควรมีประกันหรือไม่ ซึ่งศาลจะพิจารณาถึงความร้ายแรงแห่งข้อหาด้วย ตาม
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3