100000167

๒ บทที่ 1 ข้อความเบื้องต้น ๑. บทนา ในอดีต ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ของรัฐมิได้แตกต่างจากความรับผิดทางละเมิดของ ประชาชนทั่วไป กล่าวคือ ต้องนําประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาใช้บังคับ ดังนั้น เจ้าหน้าที่ของรัฐจึง ต้องรับผิดในมูลละเมิดที่เกิดขึ้นเสมอ ไม่ว่าการกระทําละเมิดนั้นจะเกิดจากการปฏิบัติหน้าที่หรือไม่ หรือการกระทําละเมิดนั้นจะมีลักษณะร้ายแรงหรือไม่ก็ตาม ๑ แต่ในปัจจุบัน บทบัญญัติแห่งกฎหมายว่าด้วยความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ของรัฐได้มีการ บัญญัติขึ้นเป็นการเฉพาะ เมื่อปี พ.ศ. 2539 คือ “พระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. ๒๕๓๙” ดังนั้น ในบทแรกของหนังสือเล่มนี้ ผู้เขียนจึงจะกล่าวถึงเจตนารมณ์ของพระราชบัญญัติ ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. ๒๕๓๙ ดังกล่าว เพื่อให้ผู้อ่านได้ทราบถึงเจตนารมณ์ในการร่าง กฎหมายฉบับนี้ และจะกล่าวถึงการใช้บังคับพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. ๒๕๓๙ นี้ ว่ามีผลบังคับใช้ตั้งแต่เมื่อไหร่ อย่างไร และสุดท้าย จะกล่าวถึงความสัมพันธ์ระหว่าง พระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. ๒๕๓๙ กับกฎหมายอื่น ในฐานะที่ พระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. ๒๕๓๙ มีลักษณะเป็นกฎหมายเฉพาะ ซึ่งการศึกษาและเข้าใจเนื้อหาของบทนี้ จะส่งผลให้ผู้อ่านได้รับความรู้อันเป็นพื้นฐานที่สําคัญ สําหรับ การศึกษาและการนําพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. ๒๕๓๙ ไปบังคับใช้ใน ลําดับต่อไป ๑ สํานักวิจัยและวิชาการ สํานักงานศาลปกครอง , หลักกฎหมายพื้นฐานความรับผิดทางละเมิด ตาม พระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. ๒๕๓๙ (กรุงเทพมหานคร: บริษัท ธรรมดาเพรส จํากัด, 2552), หน้า 5.

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3