100000167
๑๓๘ ส่วนที่ 3 เจ้าหน้าที่กระทาละเมิดต่อบุคคลภายนอก ข้อ 30. คานิยาม ข้อ 30 “หน่วยงานของรัฐ” หมายความว่า กระทรวง ทบวง กรม หรือส่วนราชการที่เรียกชื่อ อย่าง อื่นและมีฐานะเป็นกรม และราชการส่วนภูมิภาค แต่ไม่รวมถึงราชการส่วนท้องถิ่น รัฐวิสาหกิจ หรือ หน่วยงานอื่นของรัฐ ข้อความรู้เพิ่มเติม คําว่า “หน่วยงานของรัฐ” ตามข้อ 30 ของระเบียบสํานักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยหลักเกณฑ์การ ปฏิบัติเกี่ยวกับความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ.๒๕๓๙ หมายถึง กระทรวง ทบวง กรม หรือส่วน ราชการที่เรียกชื่ออย่าง อื่นและมีฐานะเป็นกรม และราชการส่วนภูมิภาค แต่ไม่รวมถึงราชการส่วนท้องถิ่น รัฐวิสาหกิจ หรือหน่วยงานอื่นของรัฐ ดังนั้น ระเบียบสํานักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยหลักเกณฑ์การปฏิบัติ เกี่ยวกับความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ.๒๕๓๙ หมวด 2 กรณีที่เจ้าหน้าที่กระทําละเมิดต่อ บุคคลภายนอก ข้อ 31 -38 จึงใช้บังคับกับส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่าง อื่นและมีฐานะเป็นกรม และ ราชการส่วนภูมิภาคเท่านั้น ไม่ใช้บังคับกับราชการส่วนท้องถิ่น รัฐวิสาหกิจ หรือหน่วยงานอื่นของรัฐ เพื่อให้ราชการส่วนท้องถิ่น รัฐวิสาหกิจ หรือหน่วยงานอื่นของรัฐ สามารถออกระเบียบหรือข้อบังคับของ ตนเองตามความเหมาะสมกับลักษณะการปฏิบัติงานภายในหน่วยงานได้ ๓๔ บันทึกความเห็นคณะกรรมการกฤษฎีกา เรื่อง วิธีปฏิบัติเกี่ยวกับระเบียบสานักนายกรัฐมนตรี วาดวยหลักเกณฑการปฏิบัติเกี่ยวกับความรับผิดทางละเมิดของเจาหนาที่ พ.ศ. 2539 (เรื่องเสร็จที่ 479/2544) การไฟฟูาส่วนภูมิภาค (กฟภ.) เปนรัฐวิสาหกิจ จึงไมนําระเบียบสํานักนายรัฐมนตรีวาดวย หลักเกณฑการปฏิบัติเกี่ยวกับความรับผิดทางละเมิดของเจาหนาที่ พ.ศ. 2539 หมวด 2 กรณีที่เจ้าหน้าที่ กระทําละเมิดต่อบุคคลภายนอก ข้อ 30 -38 มาใช้บังคับ แตเมื่อการไฟฟูาส่วนภูมิภาค (กฟภ.) ยังไมมี ระเบียบเกี่ยวกับหลักเกณฑการปฏิบัติเกี่ยวกับความรับผิดทางละเมิดของเจ าหนาที่เป็นของตนเอง โดยเฉพาะ การไฟฟูาส่วนภูมิภาค (กฟภ.) จึงตองนําระเบียบสํานักนายรัฐมนตรีวาดวยหลักเกณฑการ ปฏิบัติเกี่ยวกับความรับผิดทางละเมิดของเจาหนาที่ พ.ศ. 2539 หมวด 2 กรณีที่เจ้าหน้าที่กระทําละเมิด ต่อบุคคลภายนอก ข้อ 30 -38 มาใช้บังคับ ข้อ 31. การรายงานความเสียหายในกรณีที่เจ้าหน้าที่ของหน่วยงานของรัฐ แห่งหนึ่งทาให้เกิดความ เสียหายแก่บุคคลภายนอก ข้อ ๓๑ “ในกรณีที่เจ้าหน้าที่ทําให้เกิดความเสียหายต่อบุคคลภายนอก ถ้าเจ้าหน้าที่ผู้นั้นเห็นว่า ความเสียหายเกิดขึ้นเนื่องในการที่ตนได้กระทําในการปฏิบัติหน้าที่ ให้เจ้าหน้าที่ผู้นั้นแจ้งต่อผู้บังคับบัญชา โดยไม่ชักช้า และให้มีการรายงานตามลําดับขั้นถึงหัวหน้าหน่วยงานของรัฐแห่งนั้น แต่ในกรณีที่เจ้าหน้าที่ เป็นรัฐมนตรีหรือกรรมการที่ตั้งขึ้นเพื่อปฏิบัติงานในหน่วยงานของรัฐ หรือผู้ซึ่งไม่สังกัดหน่วยงานของรัฐ แห่งใด หรือผู้ซึ่งไม่มีผู้บังคับบัญชา ให้ดําเนินการตามข้อ ๙ (๑) (๒) (๓) หรือ (๔) และให้นําข้อ ๘ ถึงข้อ ๒๐ มาใช้บังคับโดยอนุโลม” ๓๔ สํานักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา, หลักการและคาวินิจฉัยเกี่ยวกับพระราชบัญญัติความรับผิดทาง ละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. ๒๕๓๙ , (กรุงเทพมหานคร: สํานักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา, 2561), หน้า 117.
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3