100000167
๑๔๐ ข้อ ๓๓ การแต่งตั้งคณะกรรมการสอบข้อเท็จจริงความรับผิดทางละเมิด ข้อ 33 “เมื่อได้รับคําขอตามข้อ ๓๒ และหน่วยงานของรัฐที่ได้รับคําขอไว้เห็นว่าเป็นเรื่องที่ เกี่ยวกับตน ให้แต่งตั้งคณะกรรมการเพื่อดําเนินการต่อไปโดยไม่ชักช้า” ข้อความรู้เพิ่มเติม บันทึกความเห็นคณะกรรมการกฤษฎีกา เรื่อง การพิจารณาคาขอใหชดใชคาสินไหมทดแทน อันเนื่องมาจากการกระทาละเมิด (เรื่องเสร็จที่ 370/2544) ข อ 31 แห งระเบียบสํานัก นายกรัฐมนตรีวาดวยหลักเกณฑการปฏิบัติเกี่ยวกับความรับผิดทางละเมิดของเจาหนาที่ พ.ศ. 2539 ได กําหนดใหนําขอ 8 ถึงขอ 20 มาใชบังคับโดยอนุโลม ดังนั้น แมวาขอ 33 ของระเบียบสํานันายกรัฐมนตรี วาดวยหลักเกณฑการปฏิบัติเกี่ยวกับความรับผิดทางละเมิดของเจ าหนาที่ พ.ศ. 2539 จะกําหนดให้ หนวยงานของรัฐที่รับคําขอใหชดใชคาสินไหมทดแทนของบุคคลภายนอกแตงตั้งคณะกรรมการสอบขอเท็จ จริงความรับผิดทางละเมิดขึ้นเพื่อดําเนินการตอไป โดยไมไดกําหนดกระบวนการอื่นใดที่จะตองปฏิบัติไวก็ ตาม แตยอมเขาใจไดวาการแตงตั้งคณะกรรมการสอบขอเท็จจริงความรับผิดทางละเมิดตามขอ 33 นั้น หมายความถึงการปฏิบัติตามขอ 31 ประกอบกับขอ 8 ถึงขอ 20 ของระเบียบสํานักนายกรัฐมนตรีวาดวย หลักเกณฑการปฏิบัติเกี่ยวกับความรับผิดทางละเมิดของเจาหนาที่ พ.ศ. 2539 ด้วย ดังนั้น หน่วยงานของ รัฐจึงต้องสงสํานวนไปใหกระทรวงการคลังเพื่อตรวจสอบตามขอ 17 ของระเบียบสํานักนายกรัฐมนตรี วาดวยหลักเกณฑการปฏิบัติเกี่ยวกับความรับผิดทางละเมิดของเจาหนาที่ พ.ศ. 2539 ดวย ข้อ ๓๔ หลักเกณฑ์การปฏิบัติกรณีหน่วยงานของรัฐที่ต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทน ข้อ 34 “ในกรณีที่ต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่ผู้ยื่นคําขอ ให้หน่วยงานของรัฐที่ต้องชดใช้ค่า สินไหมทดแทนปฏิบัติตามที่กระทรวงการคลังกําหนด ให้คิดดอกเบี้ยตามอัตราดอกเบี้ยผิดนัด นับแต่วันกระทําละเมิดในจํานวนเงินที่ต้องชดใช้ค่าสินไหม ทดแทนให้แก่ผู้ยื่นคําขอจนถึงวันชําระค่าสินไหมทดแทน” ข้อความรู้เพิ่มเติม ในปัจจุบันกระทรวงการคลังได้ประกาศกําหนดหลักเกณฑ์ที่เกี่ยวกับการชดใช้ค่าสินไหมทดแทน ให้แก่ผู้ยื่นคําขอไว้แล้ว ตามประกาศกระทรวงการคลังเรื่อง หลักเกณฑ์การชดใช้ค่าสินไหมทดแทน กรณี เจ้าหน้าที่ของรัฐกระทําละเมิดต่อบุคคลภายนอก ลงวันที่ 3 ตุลาคม 2554 สําหรับอัตราดอกเบี้ยผิดนัดในปัจจุบัน คือ ร้อยละ 5 ต่อปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 224 ซึ่งบัญญัติว่า “หนี้เงินนั้น ให้คิดดอกเบี้ยในระหว่างเวลาผิดนัดในอัตราที่กําหนดตามมาตรา 7 บวกด้วยอัตราเพิ่มร้อยละสองต่อปี ถ้าเจ้าหนี้อาจจะเรียกดอกเบี้ยได้สูงกว่านั้นโดยอาศัยเหตุอย่างอื่น อันชอบด้วยกฎหมาย ก็ให้คงส่งดอกเบี้ยต่อไปตามนั้น” และประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 7 ซึ่งบัญญัติว่า “ถ้าจะต้องเสียดอกเบี้ยแก่กันและมิได้กําหนดอัตราดอกเบี้ยไว้โดยนิติกรรมหรือโดย บทกฎหมายอันชัดแจ้ง ให้ใช้อัตราร้อยละสามต่อปี”
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3