100000167
๑๔๑ ข้อ ๓๕ กรณีที่ผู้เสียหายฟ้องคดีต่อศาล ข้อ 35 “ในกรณีที่ผู้เสียหายฟูองคดีต่อศาล ให้ผู้มีอํานาจแต่งตั้งคณะกรรมการโดยไม่ชักช้า เว้นแต่จะได้มีการตั้งคณะกรรมการดังกล่าวไว้แล้ว และให้ประสานงานกับสํานักงานอัยการสูงสุดเพื่อ เตรียมการต่อสู้คดีต่อไป พร้อมทั้งรายงานให้กระทรวงการคลังทราบและปฏิบัติตามที่ได้รับคําแนะนําจาก กระทรวงการคลัง” ข้อความรู้เพิ่มเติม บันทึกความเห็นคณะกรรมการกฤษฎีกา เรื่อง การแตงตั้งคณะกรรมการสอบขอเท็จจริงความ รับผิดทางละเมิด กรณีผูเสียหายฟองเทศบาลเมืองสกลนครและกรมที่ดิน (เรื่องเสร็จที่ 646/2551) ผู้เสียหายฟูองคดีต่อศาล ผู้มีอํานาจแต่งตั้งคณะกรรมการสอบขอเท็จจริงความรับผิดทางละเมิด ต้อง แตง ตั้งคณะกรรมการสอบขอเท็จจริงความรับผิดทางละเมิดโดยไม่ชักช้า ตามขอ ๓๕ แหงระเบียบสํานัก นายกรัฐมนตรีวาดวยหลักเกณฑการปฏิบัติเกี่ยวกับความรับผิดทางละเมิดของเจาหนาที่ พ.ศ. 2539 โดยไมจําตองรอใหคดีเปนที่ยุติเสียกอนวาหนวยงานของรัฐจะตองรับผิดชดใชคาเสียหายแกบุคคลภายนอก นั้นหรือไม ข้อ ๓๖ การเรียกเจ้าหน้าที่ผู้กระทาละเมิดในทางส่วนตัวเข้ามาเป็นคู่ความในคดี ข้อ 36 “ถ้าผู้แต่งตั้งเห็นว่าความเสียหายเกิดจากเจ้าหน้าที่มิได้กระทําในการปฏิบัติหน้าที่ หรือ เมื่อได้ฟังความเห็นของคณะกรรมการ หรือได้รับทราบผลการพิจารณาของกระทรวงการคลังแล้ว เห็นว่า ความเสียหายเกิดจากเจ้าหน้าที่มิได้กระทําในการปฏิบัติหน้าที่ ให้เรียกเจ้าหน้าที่ผู้นั้นเข้ามาเป็นคู่ความใน คดีด้วย” ข้อความรู้เพิ่มเติม ในกรณีที่ผู้เสียหายฟูองคดีต่อศาล ถ้าผู้แต่งตั้งเห็นว่าความเสียหายเกิดจากเจ้าหน้าที่มิได้กระทําใน การปฏิบัติหน้าที่ หรือเจ้าหน้าที่กระทําละเมิดในทางส่วนตัว หรือเมื่อได้ฟังความเห็นของคณะกรรมการ สอบขอเท็จจริงความรับผิดทางละเมิด หรือได้รับทราบผลการพิจารณาของกระทรวงการคลังแล้ว เห็นว่า ความเสียหายเกิดจากเจ้าหน้าที่มิได้กระทําในการปฏิบัติหน้าที่ หรือเจ้าหน้าที่กระทําละเมิดในทางส่วนตัว ให้เรียกเจ้าหน้าที่ผู้นั้นเข้ามาเป็นคู่ความในคดีด้วย ตามขอ ๓6 ของระเบียบสํานักนายกรัฐมนตรีวาดวย หลักเกณฑการปฏิบัติเกี่ยวกับความรับผิดทางละเมิดของเจาหนาที่ พ.ศ. 2539 ข้อ ๓๗ เจ้าหน้าที่ผู้กระทาละเมิดในการปฏิบัติหน้าที่ไม่ต้องเข้ามาเป็นคู่ความในคดี ข้อ 37 “ถ้าผลการพิจารณาของผู้แต่งตั้งยุติเป็นที่สุดว่าความเสียหายเกิดจากเจ้าหน้าที่ได้กระทํา ในการปฏิบัติหน้าที่ จะต้องไม่มีการเรียกเจ้าหน้าที่เข้ามาเป็นคู่ความในคดี แต่ถ้าผู้เสียหายได้ฟูองเจ้าหน้าที่ ต่อศาลก่อนแล้ว หรือมีการเรียกเจ้าหน้าที่เข้ามาเป็นคู่ความในคดีก่อนแล้ว ให้ผู้แต่งตั้งแจ้งผลการพิจารณา ให้พนักงานอัยการเพื่อแถลงต่อศาล เพื่อให้เจ้าหน้าที่มีโอกาสพ้นจากการเป็นคู่ความในคดี และขอให้ พนักงานอัยการช่วยเหลือทางคดีแก่เจ้าหน้าที่ในระหว่างนั้นด้วย” ข้อความรู้เพิ่มเติม พระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. ๒๕๓๙ มาตรา ๕ บัญญัติว่า “หน่วยงาน ของรัฐต้องรับผิดต่อผู้เสียหายในผลแห่งละเมิดที่เจ้าหน้าที่ของตนได้กระทําในการปฏิบัติหน้าที่ ในกรณีนี้ผู้เสียหายอาจฟูองหน่วยงานของรัฐดังกล่าวได้โดยตรง แต่จะฟูองเจ้าหน้าที่ไม่ได้” ดังนั้น ระเบียบ สํานักนายกรัฐมนตรีวาดวยหลักเกณฑการปฏิบัติเกี่ยวกับความรับผิดทางละเมิดของเจาหนาที่ พ.ศ. 2539 ขอ ๓7 จึงกําหนดว่าถ้าความเสียหายเกิดจากเจ้าหน้าที่ได้กระทําในการปฏิบัติหน้าที่ จะต้องไม่มีการเรียก
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3