100000167

๔ เจตนารมณ์ของพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539 เป็นไปตาม เหตุผลซึ่งกําหนดไว้ในหมายเหตุท้ายพระราชบัญญัติดังกล่าว กล่าวคือ 1. การกระทําในการปฏิบัติหน้าที่ของ เจ้าหน้าที่เป็นไปเพื่อประโยชน์ของหน่วยงานของรัฐ มิได้เป็นไปเพื่อประโยชน์ส่วนตัวของเจ้าหน้าที่ ดังนั้น การกําหนดให้เจ้าหน้าที่ที่กระทําละเมิดต่อ บุคคลภายนอกในการปฏิบัติหน้าที่ ต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่บุคคลภายนอก ตามหลักกฎหมาย ของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ข้าราชการ ตามมาตรา 76 วรรคหนึ่ง แห่งประมวลกฎหมายแพ่ง และพาณิชย์ ส่วนลูกจ้าง ตามมาตรา 425 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์) จึงเป็นการไม่ เหมาะสม ทําให้เกิดความเข้าใจผิดว่าเจ้าหน้าที่จะต้องรับผิดในการกระทําต่าง ๆ เป็นการเฉพาะตัวเสมอไป เมื่อเจ้าหน้าที่กระทําละเมิดต่อบุคคลภายนอก แล้วหน่วยงานของรัฐได้ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้ บุคคลภายนอกไปเพียงใด หน่วยงานของรัฐก็จะมีสิทธิไล่เบี้ยเอาจากเจ้าหน้าที่ได้เต็มจํานวนนั้น ทั้งที่ บางกรณีการกระทําละเมิดของเจ้าหน้าที่ เกิดขึ้นเพราะความไม่ตั้งใจหรือความผิดพลาดเพียงเล็กน้อยใน การปฏิบัติหน้าที่ 2. การนําหลักกฎหมายแพ่งเรื่องลูกหนี้ร่วมมาใช้บังคับ โดยกําหนดให้เจ้าหน้าที่ต้องร่วมรับผิด ในการกระทําของเจ้าหน้าที่ผู้อื่นด้วย (ถ้าเจ้าหน้าที่หลายคนร่วมกันกระทําละเมิด เจ้าหน้าที่เหล่านั้นจะต้อง ร่วมกันรับผิดในฐานะลูกหนี้ร่วม ตามมาตรา 432 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ กล่าวคือ หน่วยงานของรัฐมีสิทธิเรียกให้เจ้าหน้าที่คนใดคนหนึ่งชดใช้ค่าสินไหมทดแทนได้สิ้นเชิง ) ซึ่งระบบนั้น มุ่งหมายแต่จะได้เงินครบ โดยไม่คํานึงถึงความเป็นธรรมที่จะมีต่อแต่ละคน กรณีเป็นการก่อให้เกิดความ ไม่เป็นธรรมแก่เจ้าหน้าที่ และยังเป็นการบั่นทอนกําลังขวัญในการทํางานของเจ้าหน้าที่ด้วย จนบางครั้ง กลายเป็นปัญหาในการบริหาร เพราะเจ้าหน้าที่ไม่กล้าตัดสินใจดําเนินงานเท่าที่ควร เพราะเกรงความ รับผิดชอบที่จะเกิดแก่ตน 3. การให้คุณให้โทษแก่เจ้าหน้าที่เพื่อควบคุมการทํางานของเจ้าหน้าที่ ยังมีวิธีการในการ บริหารงานบุคคล และการดําเนินการทางวินัย กํากับดูแลอีกส่วนหนึ่ง อันเป็นหลักประกันมิให้เจ้าหน้าที่ ทําการใด ๆ โดยไม่รอบคอบอยู่แล้ว ดังนั้น เพื่อให้เกิดความเป็นธรรม และเพิ่มพูนประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของรัฐ จึงสมควร กําหนดให้เจ้าหน้าที่ต้องรับผิดทางละเมิด เมื่อเจ้าหน้าที่กระทําละเมิดในทางส่วนตัว หรือเมื่อเจ้าหน้าที่ กระทําละเมิดในการปฏิบัติหน้าที่ โดยจงใจหรือประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงเท่านั้น และให้แบ่งแยกความ รับผิดของเจ้าหน้าที่แต่ละคน มิให้นําหลักกฎหมายเรื่องลูกหนี้ร่วมมาใช้บังคับ

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3