100000167
๖ พร ะ ราชบัญญัติคว ามรับผิดทา ง ละ เ มิดขอ ง เ จ้าหน้าที่ พ . ศ . 2539 ไ ด้ปร ะกาศ ใน ราชกิจจานุ เบกษา เล่ม 113 ตอนที่ 60 ก หน้า 25 เ มื่อวันที่ 14 พฤศจิก ายน 2539 ดังนั้น พระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539 จึงมีผลใช้บังคับตั้งแต่ วันที่ 15 พฤศจิกายน 2539 อันมีผลทํา ให้การกระทําละเมิดของ เจ้าหน้าที่ที่เกิดขึ้นตั้งแต่ วันที่ 15 พฤศจิกายน 2539 เป็นต้นไป ต้องบังคับตามพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของ เจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539 ตัวอย่าง กรณีเจ้าหน้าที่กระทําละ เมิดต่อบุคคลภายนอก ในการปฏิบัติหน้าที่ ตั้งแต่ วันที่ 15 พฤศจิกายน 2539 เป็นต้นไป หน่วยงานของรัฐต้องรับผิดต่อผู้เสียหายในผลแห่งละเมิดที่ เจ้าหน้าที่ของตนได้กระทํา ตามมาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539 และในกรณีที่หน่วยงานของรัฐได้รับผิดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่ผู้เสียหายเพื่อการละเมิดของ เจ้าหน้าที่ หน่วยงานของรัฐจะมีสิทธิเรียกให้เจ้าหน้าที่ผู้กระทําละเมิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนดังกล่าวแก่ หน่วยงานของรัฐ ได้เฉพาะกรณีที่เจ้าหน้าที่ได้กระทําการนั้นไปด้วยความจงใจหรือประมาทเลินเล่ออย่าง ร้ายแรงเท่านั้น ตามมาตรา 8 แห่งพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539 ส่วนการกระทําละเมิดของเจ้าหน้าที่ที่เกิดขึ้นก่อนพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของ เจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539 มีผลใช้บังคับ จําแนกได้ดังนี้ 1. กฎหมายสารบัญญัติ เช่น ความรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วม สิทธิไล่เบี้ย อายุความ เป็นต้น ให้นํา กฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะที่มีการกระทําละเมิด คือ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ว่าด้วยละเมิด มาใช้บังคับ 2. กฎหมายวิธีสารบัญญัติ เช่น การแต่งตั้งคณะกรรมการสอบข้อเท็จจริง การพิจารณาของ ผู้มีอํานาจสั่งการ การรายงานกระทรวงการคลัง การแจ้งผลการพิจารณา การออกคําสั่งให้เจ้าหน้าที่ชดใช้ ค่าสินไหมทดแทน สิทธิในการฟูองคดี เป็นต้น ให้นํากฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะดําเนินการ คือ พระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539 มาใช้บังคับ (รวมถึงต้องนําระเบียบ สํานักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยหลักเกณฑ์การปฏิบัติเกี่ยวกับความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539 มาใช้บังคับด้วย) คาพิพากษาศาลปกครองสูงสุดที่ 214/2549 การกระทําละเมิดของเจ้าหน้าที่ที่เกิดขึ้นก่อน วันที่พระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539 ใช้บังคับ จะต้องแยกพิจารณาเป็น 2 ส่วน คือ หลักเณฑ์ในส่วนที่เป็นกฎหมายสารบัญญัติ เช่น ความรับผิดในทางละเมิด สิทธิไล่เบี้ย ฯลฯ ให้นําหลักเกณฑ์ของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาใช้บังคับ แต่ถ้าเป็นหลักเณฑ์ในส่วนที่เป็น กฎหมายวิธีสบัญญัติ เช่น ขั้นตอนในการแต่งตั้งคณะกรรมการสอบข้อเท็จจริง การพิจารณาของผู้มีอํานาจ สั่งการ การรายงานกระทรวงการคลัง การแจ้งผลการพิจารณา การออกคําสั่งให้เจ้าหน้าที่ชดใช้ค่าสินไหม ทดแทน ฯลฯ ให้นําหลักเกณฑ์ของพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539 และ ระเบียบสํานักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยหลักเกณฑ์การปฏิบัติเกี่ยวกับความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539 มาใช้บังคับ คาพิพากษาศาลฎีกาที่ 5129/2546 แม้เหตุละเมิดจะเกิดขึ้นก่อนที่พระราชบัญญัติความ รับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539 ใช้บังคับ แต่ขณะที่โจทก์ฟูองเป็นคดีนี้ พระราชบัญญัติความ รับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539 ใช้บังคับแล้ว สิทธิของโจทก์ในการฟูองคดีซึ่งอยู่ในส่วน กฎหมายวิธีสบัญญัติ จึงต้องเป็นไปตามมาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539 คือ โจทก์ต้องฟูองหน่วยงานของรัฐ จะฟูองเจ้าหน้าที่ไม่ได้
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3