100000167

๙ พระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539 มาตรา 3 หมายความ เรื่องใดที่ พระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539 บัญญัติไว้โดยเฉพาะแล้ว หรือเรื่องใดที่ พระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539 บัญญัติไว้แตกต่างจากบทบัญญัติของ กฎหมายอื่น ให้บังคับตามบทบัญญัติของพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539 ตัวอย่างที่ ๑ หากพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539 ได้บัญญัติ เรื่องใดไว้โดยเฉพาะแล้ว โดยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ลักษณะละเมิด มิได้บัญญัติเรื่องนั้นไว้ หรือหากพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539 มีบทบัญญัติที่แตกต่างจาก บทบัญญัติของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ลักษณะละเมิด ก็ให้บังคับตามพระราชบัญญัติความรับ ผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539 ตัวอย่างที่ 2 หากพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539 ได้บัญญัติ เรื่องใดไว้โดยเฉพาะแล้ว โดยข้อบังคับหรือประกาศของมหาวิทยาลัยทักษิณเกี่ยวกับความรับผิดทางละเมิด ของเจ้าหน้าที่ (หรือของหน่วยงานของรัฐอื่น ๆ) มิได้บัญญัติเรื่องนั้นไว้ หรือหากพระราชบัญญัติความรับผิด ทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539 มีบทบัญญัติที่แตกต่างข้อบังคับหรือประกาศของมหาวิทยาลัย ทักษิณเกี่ยวกับความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ ก็ให้บังคับตามพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิด ของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539 ในทางกลับกัน บทบัญญัติใดที่พระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539 มิได้บัญญัติไว้โดยเฉพาะ ก็ให้บังคับตามบทบัญญัติของกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง เช่น ประมวลกฎหมายแพ่ง และพาณิชย์ พระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติทางปกครอง พ.ศ. 2539 เป็นต้น คาพิพากษาศาลปกครองสูงสุดที่ อ.101/2548 พระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของ เจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539 มาตรา 3 บัญญัติว่า “บรรดากฎหมาย กฎ และข้อบังคับใด ๆ ในส่วนที่มีบัญญัติไว้ แล้วในพระราชบัญญัตินี้ หรือซึ่งขัดหรือแย้งกับบทแห่งพระราชบัญญัตินี้ ให้ใช้พระราชบัญญัตินี้แทน” มี ความหมายในทางกลับกันว่า ในกรณีที่พระราชบัญญัตินี้มิได้บัญญัติเรื่องใดที่เกี่ยวกับความรับผิดทาง ละเมิดไว้เป็นพิเศษ ก็ต้องเป็นไปตามบทบัญญัติของกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง และเมื่อปรากฏว่ากฎหมายที่ บัญญัติถึงความรับผิดทางละเมิดไว้คือ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ อันเป็นกฎหมายทั่วไปที่ใช้ กําหนดความสัมพันธ์ทางแพ่งระหว่างเอกชน จึงต้องนําบทบัญญัติในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ใน ส่วนที่เกี่ยวข้อง และมิได้มีการบัญญัติไว้เป็นการเฉพาะในพระราชบัญญัติดังกล่าว มาใช้บังคับเท่าที่ไม่ขัด หรือแย้งกับพระราชบัญญัตินี้ด้วย

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3