100000167
๑๓ ตามคํานิยามของมาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539 “เจ้าหน้าที่” หมายความว่า 1. “ข้าราชการ” หมายถึง บุคคลที่เข้ารับราชการในหน่วยงานของรัฐ เช่น ข้าราชการครู ข้าราชการตํารวจ ข้าราชการพลเรือน ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา ข้าราชการทหาร เป็นต้น โดยนิติสัมพันธ์ระหว่างข้าราชการกับหน่วยงานของรัฐนั้น เป็นไปตามที่กฎหมาย คือ พระราชบัญญัติ ระเบียบข้าราชการฝุายต่าง ๆ กําหนด มิได้นําหลักนิติกรรมสัญญามาใช้บังคับ และข้าราชการจะได้รับ เงินเดือนจากเงินงบประมาณหมวดเงินเดือน ข้อสังเกต เจ้าหน้าที่ประเภทข้าราชการอาจปฏิบัติงานในหน่วยงานของรัฐที่มิใช่ส่วนราชการก็ได้ เช่น ข้าราชการที่ปฏิบัติงานในสถาบันอุดมศึกษาที่อยู่ในกํากับของรัฐ หรือที่เรียกว่า “มหาวิทยาลัยนอกระบบ” เป็นต้น 2 . “ พนัก ง าน” หม ายถึง พนั ก ง าน ขอ ง หน่ว ย ง าน ขอ ง รั ฐ เ ช่น พนัก ง านร า ชก า ร พนักงานเทศบาล พนักงานรัฐวิสาหกิจ พนักงานองค์การมหาชน พนักงานมหาวิทยาลัย เป็นต้น โดย นิติสัมพันธ์ระหว่างพนักงานกับหน่วยงานของรัฐนั้น นําหลักนิติกรรมสัญญามาใช้บังคับ และพนักงานจะ ได้รับเงินเดือนจากเงินงบประมาณหมวดเงินอุดหนุน บันทึกสํานักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา เรื่อง การพิจารณาความรับผิดทางละเมิ ดของ พนักงานสถานธนานุบาลเทศบาลเมืองสุราษฏร์ธานี (เรื่องเสร็จที่ 485/2543) คณะกรรมการกฤษฎีกามี ความเห็นว่า ในการปฏิบัติงานของพนักงานสถานธนานุบาลเป็นการปฏิบัติงานประจํา การบรรจุแต่งตั้ง การพิจารณาเลื่อนขั้นเงินเดือนค่าตอบแทนและค่าจ้าง การดําเนินการทางวินัย การเกษียณอายุ และการ ต่ออายุการดํารงตําแหน่ง เป็นไปตามระเบียบสํานักงาน จ.ส.ท. ว่าด้วยพนักงานสถานธนานุบาล พ.ศ. 2523 และให้ถือว่าเป็นพนักงานเทศบาลด้วย ดังนั้น พนักงานสถานธนานุบาลจึงเป็นเจ้าหน้าที่ตาม พระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539 บันทึกสํานักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา เรื่องสถานะทางกฎหมายของพนักงานของรัฐใน สังกัดกระทรวงสาธารณสุข ตามประมวลกฎหมายอาญาและพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของ เจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539 (เรื่องเสร็จที่ 186/2544) คณะกรรมการกฤษฎีกามีความเห็นว่า เมื่อกระทรวง สาธารณสุขเป็นหน่วยงานของรัฐ พนักงานที่ได้รับแต่งตั้งให้ปฏิบัติงานในกระทรวงสาธารณสุข จึงเป็น พนักงานของหน่วยงานของรัฐ อันเป็นเจ้าหน้าที่ตามพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539 3. “ลูกจ้าง” หมายถึง ลูกจ้างประจําและลูกจ้างชั่วคราวของหน่วยงานของรัฐ โดยนิติสัมพันธ์ ระหว่างลูกจ้างกับหน่วยงานของรัฐนั้น นําหลักนิติกรรมสัญญามาใช้บังคับและลูกจ้างประจําจะได้รับ เงินเดือนจากเงินงบประมาณหมวดค่าจ้างประจํา ส่วนลูกจ้างชั่วคราวจะได้รับเงินเดือนจากเงินรายได้ของ หน่วยงานที่ตนสังกัด บันทึกสํานักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา เรื่อ ง แนวปฏิบัติตามพระราชบัญญัติความ รับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539 และระเบียบสํานักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยหลักเกณฑ์การปฏิบัติ เกี่ยวกับความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539 (ข้อหารือของการไฟฟูาส่วนภูมิภาค) (เรื่องเสร็จ ที่ 896/2542) คณะกรรมการกฤษฎีกามีความเห็นว่า การที่การไฟฟูาส่วนภูมิภาคทําสัญญาแต่งตั้ง เอกชนให้ทําหน้าที่ 1. เป็นตัวแทนเก็บเงินค่าไฟฟูาจากประชาชน 2. จัดหาบุคคลมาปฏิบัติงานแทน พนักงานของการไฟฟูาส่วนภูมิภาค เช่น แก้ปัญหากระแสไฟฟูาขัดข้องให้แก่ประชาชนผู้ใช้ไฟฟูา ฯลฯ
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3