100000167
๑๔ 3. ก่อสร้างอาคารหรือสิ่งก่อสร้างใด ๆ ให้แก่การไฟฟูาส่วนภูมิภาค ตามสัญญาจ้างเหมาเบ็ดเสร็จนั้น เป็นสัญญาจ้างทําของตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 428 ดังนั้น เอกชนซึ่งเป็นคู่สัญญา กับการไฟฟูาส่วนภูมิภาคจึงไม่ใช่เจ้าหน้าที่ของการไฟฟูาส่วนภูมิภาค อันทําให้ไม่เป็นเจ้าหน้าที่ตาม พระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539 บันทึกสํานักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา เรื่อง ความรับผิดทางละเมิดของลูกจ้าง ร.ส.พ. ตาม สัญญาจ้างแรงงาน (ลูกจ้างเป็นครั้งคราวเฉพาะงาน) (เรื่องเสร็จที่ 849/2542) คณะกรรมการกฤษฎีกามี ความเห็นว่า ลูกจ้างที่ได้รับการบรรจุแต่งตั้งให้ปฏิบัติงานในหน่วยงานของรัฐที่มีลักษณะเป็นการปฏิบัติงาน ประจําและต่อเนื่อง มีการกําหนดอัตราเงินเดือน การเลื่อนขั้นเงินเดือน การลงโทษทางวินัย ลูกจ้าง ประเภทนี้มีฐานะเป็นเจ้าหน้าที่ และความรับผิดในมูลละเมิดเป็นไปตามพระราชบัญญัติความรับผิดทาง ละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539 แต่เมื่อองค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์ (ร.ส.พ.) ได้ทําสัญญาว่าจ้าง บุคคลมาเป็นลูกจ้างเป็นครั้งคราวเฉพาะงาน ไม่ใช่การบรรจุแต่งตั้งบุคคลดังกล่าวเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ ขององค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์ (ร.ส.พ.) ดังนั้น ความรับผิดทางละเมิดต้องนําบทบัญญัติแห่ง ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาใช้บังคับ 4. “ผู้ปฏิบัติงานประเภทอื่น ไม่ว่าจะเป็นการแต่งตั้งในฐานะเป็นกรรมการหรือฐานะอื่นใด ” หมายถึง บุคลากรประเภทอื่นที่ปฏิบัติงานให้แก่หน่วยงานของรัฐ ที่มิใช่ข้าราชการ พนักงาน ลูกจ้าง ไม่ว่า จะเป็นการแต่งตั้งในฐานะเป็นกรรมการ หรือฐานะอื่น ๆ เช่น ประธานโครงการ อนุกรรมการ คณะทํางาน ผู้เชี่ยวชาญ ที่ปรึกษา กํานัน ผู้ใหญ่บ้าน ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน เป็นต้น บันทึกสํานักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา เรื่อง สถานภาพขององค์การเพื่อการปฏิรูประบบ สถาบันการเงิน (เรื่องเสร็จที่ 28/2541) คณะกรรมการกฤษฎีกามีความเห็นว่า องค์การเพื่อการปฏิรูป ระบบสถาบันการเงิน (ปรส.) มีสถานภาพเป็นรัฐวิสาหกิจที่ตั้งขึ้นโดยพระราชบัญญัติ ดังนั้น องค์การเพื่อ การปฏิรูประบบสถาบันการเงิน (ปรส.) จึงเป็นหน่วยงานของรัฐตามพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิด ของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539 และกรรมการ อนุกรรมการ เลขาธิการ ตลอดจนผู้ปฏิบัติงานอื่นขององค์การ เพื่อการปฏิรูประบบสถาบันการเงิน (ปรส.) จึงเป็นเจ้าหน้าที่ตามพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของ เจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539 บันทึกสํานักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา เรื่องกรมพัฒนาและส่งเสริมพลังงานหารือเกี่ยวกับ การจ่ายค่าชดเชย กรณีโครงการฝายราษีไศล (เรื่องเสร็จที่ 351/2545) คณะกรรมการกฤษฎีกามี ความเห็นว่า การที่นาย อ. รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ ได้รับคําสั่งจากนายกรัฐมนตรีให้ เป็นประธานการเจรจาข้อตกลงแก้ไขปัญหาของสมัชชาคนจนโครงการฝายราษีไศลนั้น เมื่อการเจรจา ข้อตกลงแก้ไขปัญหาดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของการแก้ไขปัญหาอันเกิดจากการปฏิบัติงานตามโครงการที่อยู่ ในความรับผิดชอบของกระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ กรณีจึงถือได้ว่านาย อ. ได้กระทําการในฐานะที่เป็ น เจ้าหน้าที่ ตามพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539 และคณะทํางาน ตรวจสอบข้อเท็จจริงที่นาย อ. แต่งตั้งขึ้นนั้น เป็นกรณีที่คณะทํางานดังกล่าวได้รับการแต่งตั้งมาเพื่อ ปฏิบัติงานอันเป็นภารกิจของกระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ ดังนั้น คณะทํางานดังกล่าวจึงเป็นเจ้าหน้าที่ตาม พระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3