การศึกษาอิสระ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ

89 1) คณะกรรมการไกล่เกลี่ยข้อพิพาททางปกครอง มีกรรมการ จำนวน 11 คน และ เลขานุการ จำนวน 1 คน รวมเป็นจำนวน 12 คน ประกอบด้วย (1) ผู้ทรงคุณวุฒิภายนอกจาก ศาลปกครอง เป็นประธานกรรมการ (2) ผู้ทรงคุณวุฒิภายนอกจากกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) จำนวนหนึ่งคน เป็นกรรมการ (3) ผู้ทรงคุณวุฒิภายนอกจาก กระทรวงการคลัง จำนวนหนึ่งคน เป็นกรรมการ (4) ผู้ทรงคุณวุฒิภายนอกจากมหาวิทยาลัยในกำกับ ของรัฐ จำนวนหนึ่งคน เป็นกรรมการ (5) รองอธิการบดีที่ได้รับมอบหมาย เป็นกรรมการ (6) หัวหน้า ศูนย์รับข้อร้องเรียน จำนวนหนึ่งคน เป็นกรรมการ (7) ผู้ปฏิบัติงานในมหาวิทยาลัยสายคณาจารย์ จำนวนหนึ่งคน เป็นกรรมการ (8) ผู้ปฏิบัติงานในมหาวิทยาลัยสายสนับสนุน จำนวนหนึ่งคน เป็นกรรมการ (9) ประธานสภาคณาจารย์และพนักงาน เป็นกรรมการ (10) นายกองค์การนิสิต จำนวนหนึ่งคน เป็นกรรมการ (11) หัวหน้าฝ่ายนิติการ เป็นกรรมการ และ (12) นิติกร เป็น เลขานุการ ผู้วิจัยได้ยกร่างรูปแบบของคณะกรรมการไกล่เกลี่ยข้อพิพาททางปกครอง ให้สอดคล้องกับ แนวคิดเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมของภาคประชาชน ที่ภาครัฐต้องมีเข้ามามีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหา ดังกล่าว โดยคำนึงถึงความชอบธรรมของความประสงค์ ผลประโยชน์ และฐานะของคู่กรณี เป็นไป ตามทฤษฎีการแก้ปัญหา 2) คณะกรรมการไกล่เกลี่ยข้อพิพาททางปกครองต้องมีคุณสมบัติทั่วไป ได้แก่ (1) เป็น ผู้มีความรู้ความสามารถเป็นที่ยอมรับอย่างกว้างขวาง มีความซื่อสัตย์สุจริตเป็นที่ประจักษ์ (2) เป็นผู้มีภาวะผู้นำ มีวิสัยทัศน์ มีความเป็นอิสระ สามารถใช้ดุลพินิจในการปฏิบัติตามที่ได้รับ มอบหมายด้วยความเป็นอิสระและเที่ยงธรรม (3) วางตนเป็นกลาง ปราศจากอคติในการปฏิบัติหน้าที่ และไม่มีส่วนได้เสียกับคู่กรณี และ (4) ผ่านการอบรมหลักสูตรการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท คุณสมบัติ ทั้งสี่ดังกล่าว เป็นคุณสมบัติพื้นฐานที่ผู้ทำหน้าที่ไกล่เกลี่ยควรมีในการพิจารณาทางปกครอง ซึ่งสอดคล้องกับมาตรา 13 ประกอบมาตรา 16 แห่งพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 และเป็นไปตามทฤษฎีการเจรจา คือ สามารถหาจุดกึ่งกลางระหว่างกันและกันได้ เป็นการ เจรจาต่อรองในสิ่งที่ต้องการ เพื่อยอมรับและเป็นที่พอใจของทั้งสองฝ่าย ส่วนการผ่านอบรมหลักสูตร การไกล่เกลี่ยข้อพิพาท หน่วยงานทางปกครองอาจเป็นผู้ดำเนินการเอง หรือให้ผู้ทำหน้าที่ไกล่เกลี่ย เข้าร่วมอบรมหลักสูตรตามที่กฎหมายกำหนดก็ได้ เพื่อเป็นความยืดหยุ่นของการปฏิบัติงาน 3) สำหรับคดีข้อพิพาทที่เกิดขึ้นในมหาวิทยาลัยที่สามารถไกล่เกลี่ยได้ มี 3 กรณี คือ 1) ก่อนดำเนินการทางวินัย จรรยาบรรณหรือธรรมาภิบาลและจริยธรรมและความรับผิดทางละเมิด กรณีมีการละเลยต่อหน้าที่หรือปฏิบัติหน้าที่ล่าช้าเกินสมควร หรือกระทำละเมิดทางปกครอง 2) กรณี

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3