การศึกษาอิสระ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
90 อุทธรณ์และร้องทุกข์ เมื่อผู้ปฏิบัติงานในมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐเห็นว่าตนไม่ได้รับความเป็นธรรม หรือมีความคับข้องใจเนื่องจากการกระทำหรือคำสั่งของผู้บังคับบัญชา และ 3) ข้อพิพาท อันสืบเนื่องมาจากสัญญาทางปกครองก่อนที่จะนำคดีไปฟ้องต่อศาลปกครอง ส่วนข้อพิพาทที่ ไม่สามารถไกล่เกลี่ยได้ มี 2 กรณี คือ เมื่ออธิการบดีใช้ดุลพินิจออกเป็นคำสั่งทางปกครองแล้ว และ การกระทำที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดี หรือที่ก่อให้เกิดความเสียหายอย่างร้ายแรง ต่อมหาวิทยาลัย 5.3 ข้อเสนอแนะ (1) ควรปรับปรุงแก้ไขพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542 มาตรา 66/1 วรรคหนึ่งตอนท้าย โดยมีข้อความเพิ่มเติมว่า “… ทั้งนี้ หน่วยงาน ทางปกครองสามารถไกล่เกลี่ยข้อพิพาททางปกครองได้ก่อนนำคดีขึ้นสู่ศาล” (2) ควรจัดทำ “ (ร่าง) ข้อบังคับมหาวิทยาลัยว่าด้วยการไกล่ เกลี่ยข้อพิพาท ทางปกครอง พ.ศ. ....” เพื่อเป็นรูปแบบที่เหมาะสมในการไกล่เกลี่ยข้อพิพาททางปกครองใน มหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐให้เกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรม (3) เห็นควรให้มหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐร่วมมือกับศาลปกครอง กระทรวงการ อุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) กระทรวงการคลัง และหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง เพื่อพัฒนาระบบการไกล่เกลี่ยในเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพภายใต้การกระทำทางปกครอง ต้องไม่ขัดต่อกฎหมาย และหลักไม่มีกฎหมาย ไม่มีอำนาจ
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3