การศึกษาอิสระ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ

97 หมวด 3 การไกล่เกลี่ยข้อพิพาททางปกครอง ข้อ 10 ก่อนดำเนินการทางวินัย จรรยาบรรณหรือธรรมาภิบาลและจริยธรรม และความ รับผิดทางละเมิด ข้อพิพาททางปกครองในลักษณะดังต่อไปนี้ ที่สามารถไกล่เกลี่ยได้ (1) ข้อพิพาททางปกครองอันเนื่องมาจากการละเลยต่อหน้าที่หรือปฏิบัติหน้าที่ล่าช้าเกิน สมควร (2) ข้อพิพาททางปกครองอันเนื่องมาจากการกระทำละเมิดทางปกครอง ข้อพิพาททางปกครองอื่นที่กระทำการฝ่าฝืนกฎหมายหรือต้องห้ามชัดแจ้ ง ความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน หรือก่อให้เกิดความเสียหายต่อมหาวิทยาลัย อย่างร้ายแรง ไม่สามารถไกล่เกลี่ยได้ ข้อ 11 ก่อนการดำเนินการอุทธรณ์และร้องทุกข์ประจำมหาวิทยาลัย กรณีผู้ปฏิบัติงาน ในมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐเห็นว่าตนไม่ได้รับความเป็นธรรมหรือมีความคับข้องใจเนื่องจากการ กระทำหรือคำสั่งของผู้บังคับบัญชา เป็นข้อพิพาททางปกครองที่สามารถไกล่เกลี่ยได้ ข้อพิพาททางปกครองอันเนื่องมาจากการกระทำทางปกครองฝ่ายเดียว เมื่อออกเป็น คำสั่งทางปกครองแล้ว ไม่สามารถไกล่เกลี่ยได้ ข้อ 12 ก่อนการฟ้องคดีต่อศาลปกครอง ข้อพิพาทอันสืบเนื่องมาจากสัญญา ทางปกครอง เป็นข้อพิพาททางปกครองที่สามารถไกล่เกลี่ยได้ หมวด 4 การดำเนินการ ข้อ 13 คู่กรณีฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดอาจยื่นคำร้องเป็นหนังสือและคู่กรณีฝ่ายอื่นตกลงให้มีการ ไกล่ เกลี่ยข้อพิพาททางปกครอง ในกรณี เช่นนี้ ถ้าคณะกรรมการเห็นสมควร แล้วแต่กรณี เห็นชอบให้ดำเนินการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทระหว่างคู่กรณีนั้นได้ สำหรับคู่กรณีที่ไม่ได้ตกลงให้มีการ ไกล่เกลี่ยข้อพิพาท คณะกรรมการอาจดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไปก็ได้ เมื่อคณะกรรมการเห็นสมควรให้มีการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทและคู่กรณียินยอม ให้นำความในวรรคหนึ่งมาใช้บังคับโดยอนุโลม ให้คณะกรรมการแต่งตั้งผู้ไกล่เกลี่ยซึ่งไม่เป็นผู้มีส่วนได้เสียกับคู่กรณี ปฏิบัติหน้าที่ เป็นผู้ไกล่เกลี่ยข้อพิพาท โดยคำนึงถึงความรู้ความเชี่ยวชาญและความเหมาะสม

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3