การศึกษาอิสระ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
บทที่ 1 บทนำ 1.1 ความสำคัญและที่มาของปัญหาที่ทำวิจัย อดีตกาลการจัดการความขัดแย้งหรือข้อพิพาท เป็นการมุ่งเอาชนะเพื่อให้ตนได้ตาม วัตถุประสงค์ที่ต้องการ ต่อมามีการพัฒนาเป็นไปในรูปแบบของศาลหรือที่เรียกว่า “กระบวนการ ยุติธรรม” อันมีผู้พิพากษาเป็นผู้วินิจฉัยชี้ขาดพิพาท แต่ในบางครั้งการจัดการความขัดแย้งหรือ ข้อพิพาทไม่อาจสามารถแก้ไขปัญหาดังกล่าวของคนในสังคมให้หมดไปได้ อีกทั้งกระบวนการพิจารณา ทางศาลอาจเกิดความล่าช้า มีการเสียค่าใช้จ่ายต่าง ๆ จึงนำไปสู่แนวคิดของการระงับข้อพิพาท คือ “การไกล่เกลี่ยข้อพิพาท” ซึ่งเป็นทางเลือกหนึ่งของการระงับข้อพิพาทก่อนการนำคดีไป ฟ้องร้องคดีต่อศาล เพื่อรักษาความสงบสุขของคนในสังคมให้สามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างสมานฉันท์ และสันติ (วรพจน์ เวียงจันทร์, 2557, น. 11) ตามพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน (2554) ได้ให้ คำนิยามคำว่า “ไกล่เกลี่ย” หมายความว่า “พูดจาให้ตกลงกัน พูดจาให้ปรองดองกัน ทำให้เรียบร้อย ทำให้มีส่วนเสมอกัน” การไกล่เกลี่ยข้อพิพาท เป็นกระบวนการแก้ปัญหาระหว่างคู่ความ โดยมี คนกลางเข้ามาช่วยในการเจรจา ซึ่งเป็นการเปิดโอกาสให้คู่ความได้ตกลงทำความเข้าใจกันด้วยความ ยินยอมของคู่ความเอง เพื่อหาทางออกในการระงับข้อพิพาทที่เกิดขึ้น (ชัย วงศ์คำจันทร์, 2558, น. 8) ศาลยุติธรรมและศาลปกครองจึงเล็งเห็นความสำคัญของการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท ซึ่งเป็น กระบวนการหนึ่งที่ช่วยให้การบริหารจัดการคดีมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น เนื่องจากเปิดโอกาสและ ส่งเสริมให้คู่กรณีมีทางเลือกในการระงับข้อพิพาทภายใต้หลักความชอบด้วยกฎหมาย เพื่อสามารถทำ ให้ข้อพิพาทยุติลงได้อย่างรวดเร็วด้วยความสมัครใจของคู่กรณี และรักษาไว้ซึ่งสัมพันธ์ที่ดีระหว่างกัน โดยข้อพิพาททางแพ่ง ถ้าเป็นเรื่องเกี่ยวกับสิทธิแห่งสภาพบุคคล สิทธิในครอบครัว หรือกรรมสิทธิ์ใน อสังหาริมทรัพย์ ไม่สามารถไกล่เกลี่ยได้ ตามมาตรา 20 แห่งพระราชบัญญัติการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท พ.ศ. 2562 ข้อพิพาททางอาญาในกรณีความผิดอันยอมความได้ และความผิดลหุโทษ ตามมาตรา 390 – 395 และมาตรา 397 แห่งประมวลกฎหมายอาญา และความผิดลหุโทษอื่นที่ไม่กระทบต่อ ส่วนรวมตามที่กำหนดในพระราชกฤษฎีกา สามารถไกล่เกลี่ยได้ ตามมาตรา 35 แห่งพระราชบัญญัติ การไกล่เกลี่ยข้อพิพาท พ.ศ. 2562 ส่วนข้อพิพาททางปกครองที่สามารถไกล่เกลี่ยได้ เป็นคดีที่ เกี่ยวกับเจ้าหน้าที่ของรัฐละเลยต่อหน้าที่หรือปฏิบัติหน้าที่ล่าช้ากว่าที่กฎหมายกำหนดคดีละเมิด เจ้าหน้าที่หรือความรับผิดอย่างอื่น สัญญาทางปกครอง และคดีพิพาทอื่นตามระเบียบที่ประชุมใหญ่
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3