การศึกษาอิสระ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ

4 การอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ที่เกิดขึ้นโดยส่วนใหญ่เป็นข้อพิพาท ทางปกครอง ซึ่งมีระบบการจัดการข้อพิพาททางปกครองโดยมีศูนย์รับข้อร้องเรียนหรือฝ่ายกฎหมาย เป็นต้นทางแรกของการพิจารณารับเรื่อง เพื่อนำเข้าคณะกรรมการที่มีอำนาจในการพิจารณา ทางปกครองหรือส่งคดีฟ้องต่อศาลปกครองแล้วแต่กรณี เป็นเหตุให้มีการฟ้องคดีต่อศาลปกครองเป็น จำนวนมาก ซึ่งไม่เป็นผลดีต่อคู่กรณีทั้งสองฝ่าย ก่อให้เกิดความขัดแย้งระหว่างกัน จึงนำไปสู่แนวคิด ของการระงับข้อพิพาท คือ “การไกล่เกลี่ยข้อพิพาท” ซึ่งเป็นทางเลือกหนึ่งของการระงับข้อพิพาท ก่อนการนำคดีไปฟ้องร้องคดีต่อศาล เพื่อรักษาความสงบสุขของคนในสังคมให้สามารถอยู่ร่วมกันได้ อย่างสมานฉันท์และสันติ ประกอบกับในปัจจุบันมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐไม่มีอำนาจในการ จัดการความขัดแย้งดังกล่าว ดัวยเหตุนี้ ผู้วิจัยจึงสนใจศึกษาเรื่องการไกล่เกลี่ยข้อพิพาททางปกครองของมหาวิทยาลัย ในกำกับของรัฐ ในการระงับข้อพิพาทก่อนนำคดีขึ้นสู่ศาล โดยศึกษาถึงอำนาจการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท ในมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ และหารูปแบบที่เหมาะสมในการไกล่เกลี่ยข้อพิพาททางปกครอง ในมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ 1.2 วัตถุประสงค์ของการวิจัย 1.2.1 เพื่อศึกษาการไกล่เกลี่ยข้อพิพาททางปกครองในมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ 1.2.2 เพื่อศึกษาแนวคิด ทฤษฎีและหลักการที่เกี่ยวข้องกับการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท ทางปกครองในมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ 1.2.3 เพื่อศึกษากฎหมายไทยและต่างประเทศที่เกี่ยวข้องกับการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท ทางปกครอง 1.2.4 เพื่อศึกษารูปแบบที่เหมาะสมในการไกล่เกลี่ยข้อพิพาททางปกครองในมหาวิทยาลัย ในกำกับของรัฐ 1.3 คำถามวิจัย กฎหมายที่ให้อำนาจในการจัดตั้งการไกล่เกลี่ยข้อพิพาททางปกครองในมหาวิทยาลัย ในกำกับของรัฐมีหรือไม่ อย่างไร และรูปแบบที่เหมาะสมในการไกล่เกลี่ยข้อพิพาททางปกครอง ในมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐเป็นอย่างไร

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3