การศึกษาอิสระ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ

12 ชนิดา จิตตรุทธะ (2560, น. 71) อธิบายว่า โดยพื้นที่องค์การและสมาชิกองค์การส่วนใหญ่ มีความเหมือนกัน ซึ่งมีการแบ่งงานกันทำ เนื่องจากโครงสร้างของระบบราชการมุ่งไปที่ความ ประสิทธิภาพขององค์การเป็นหลัก โดยอยู่ภายใต้การบังคับบัญชาของการจัดการตามลำดับชั้น โดยมีแนวคิดที่สำคัญ 2 แนวคิด ดังนี้ 1) แนวคิดมนุษยสัมพันธ์ โดยแม็กเกรเกอร์ (Douglas McGregor) ได้เสนอทฤษฎี X และ ทฤษฎี Y โดยผู้นำแบบ X เชื่อว่า ธรรมชาติของผู้ปฏิบัติงานเป็นไปในทางลบ เนื่องจากคนงาน ส่วนใหญ่ ไม่ชอบทำงาน ไม่อยากรับผิดชอบ ขาดความกระตือรือร้น จะทำงานตามที่สั่งเท่าที่จำเป็น เท่านั้น และคนงานส่วนใหญ่ต้องการความมั่นคงในการทำงาน แต่ต้องอยู่ภายใต้การกำกับและ การควบคุมขององค์การโดยต้องใช้วิธีบังคับ ควบคุม และลงโทษเพื่อให้คนงานทำงานบรรลุเป้าหมาย ส่วนผู้นำแบบ Y เชื่อว่า ผู้ปฏิบัติงานเป็นคนดีโดยธรรมชาติ มีหลักการที่สำคัญ คือ เป็นการ รวมเข้าเป็นหนึ่งเดียวกัน กล่าวคือ มีการสร้างเงื่อนไขต่าง ๆ ที่ทำให้สมาชิกองค์การสามารถ บรรลุสัมฤทธิผลในเป้าหมายของตัวเองอย่างดีที่สุด เพื่อมุ่งตรงไปสู่ความสำเร็จ โดยคนงาน มีความสามารถในการคิดริเริ่มสร้างสรรค์และแก้ปัญหาให้องค์การได้ เนื่องจากชอบทำงาน เพราะเห็น ว่าการทำงานเป็นเรื่องปกติเช่นเดียวกับการพักผ่อนและการเล่น คนงานรู้เป้าหมายของตนเอง โดยมีความทะเยอทะยาน รับผิดชอบ และพยายามที่จะบรรลุเป้าหมาย เพื่อต้องการที่จะได้รับการ ยอมรับ (ชนิดา จิตตรุทธะ, 2560, น. 81 – 82) 2) แนวคิดการพัฒนาองค์การ เป็นแนวคิดที่ส่งเสริมการเปิดโอกาสให้สมาชิกองค์การ ได้แสดงความคิดเห็นร่วมกันเพื่อให้ได้การตัดสินใจที่เกิดจากความเห็นพ้องต้องกัน โดยให้สมาชิก องค์การมีส่วนร่วมในการพัฒนา (ชนิดา จิตตรุทธะ, 2560, น. 83) และ “วาทกรรมองค์การ” เป็นการ พัฒนาองค์การแนวใหม่ ซึ่งเกี่ยวข้องกับการเจรจาต่อรอง กระบวนการอำนาจ และการเมือง เพื่อลดความกังวลเกี่ยวกับงานที่ได้รับมอบหมาย นำไปสู่ความร่วมมือกันอย่างมีประสิทธิผล โดยวาท กรรมองค์การจะช่วยพัฒนาองค์การในรูปแบบที่หลากหลาย ช่วยให้เกิดนวัตกรรมใหม่ ๆ อันถือเป็น ทางเลือกหนึ่งในการพัฒนาและจัดการองค์การ (อุทัย ปริญญาสุทธินันท์, 2561, น. 35 - 36) จากแนวคิดข้างต้นสรุปได้ว่า วัฒนธรรมองค์การกับการบริหารงานบุคคล มุ่งเน้นให้เกิด ความประสิทธิภาพขององค์การเป็นสำคัญ โดยแนวคิดมนุษยสัมพันธ์ แม็กเกรเกอร์ (Douglas McGregor) ได้เสนอทฤษฎี X และทฤษฎี Y โดยผู้นำแบบ X เชื่อว่า ธรรมชาติของผู้ปฏิบัติงานเป็นไป ในทางลบ คนทำงานจะทำงานตามที่สั่งเท่าที่จำเป็นเท่านั้น ภายใต้การกำกับและการควบคุมของ องค์การเพื่อให้คนทำงานบรรลุเป้าหมาย ส่วนผู้นำแบบ Y เชื่อว่าโดยธรรมชาตินั้น ผู้ปฏิบัติงานเป็นคน ดี มีการทำงานเป็นหนึ่งเดียวกัน มุ่งตรงไปสู่ความสำเร็จเดียวกัน ส่วนแนวคิดการพัฒนาองค์การ

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3