การศึกษาอิสระ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ

13 เป็นแนวคิดที่เปิดโอกาสให้สมาชิกองค์การมีส่วนร่วมในการพัฒนา ภายใต้ “วาทกรรมองค์การ” เป็นการนำหลักว่าด้วยการเจรจาต่อรองมาปรับใช้กับคนในองค์การ เพื่อลดความกังวลของคนงานใน ภาระงานที่ได้รับมอบหมาย อันเป็นทางเลือกหนึ่งของการพัฒนาและจัดการองค์การ 2.1.4 หลักธรรมาภิบาลกับการดำเนินการทางวินัย หลักธรรมาภิบาล เป็นหลักการบริหารกิจการบ้านเมืองและสังคมที่ดีประกอบด้วย หลักนิติธรรม หลักคุณธรรม หลักความโปร่งใส หลักความมีส่วนร่วม และหลักความคุ้มค่า ซึ่งเป็นหลักสำคัญพื้นที่ที่สำคัญ ส่วนการดำเนินการทางวินัย เป็นกรณีผู้ปฏิบัติงานหรือนิสิต ในมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐถูกกล่าวหาซึ่งมีมูลที่ควรกล่าวหาว่ากระทำผิดวินัย เป็นเหตุให้มี การสอบสวนเพื่อให้ได้ความจริงและยุติธรรม ดังจะกล่าวต่อไป 2.1.4.1 หลักธรรมาภิบาล ตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการสร้างระบบบริหารกิจการบ้านเมืองและ สังคมที่ดี พ.ศ. 2542 ข้อ 4.2 กำหนดหลักการบริหารกิจการบ้านเมืองและสังคมที่ดี ควรจัดหรือ ส่งเสริมให้สังคมไทยอยู่บนพื้นฐานของหลักสำคัญอย่างน้อย 6 ประการ ดังนี้ 1) หลักนิติธรรม ได้แก่ การตรากฎหมาย กฎ ข้อบังคับต่าง ๆ ให้ทันสมัยและเป็นธรรม เป็นที่ยอมรับของสังคม และสังคมยินยอมพร้อมใจปฏิบัติตามกฎหมาย กฎ ข้อบังคับเหล่านั้น โดยถือว่าเป็นการปกครองภายใต้กฎหมายมิใช่ตามอำเภอใจหรืออำนาจของบุคคล 2) หลักคุณธรรม ได้แก่ การยึดมั่นในความถูกต้องดีงาม โดยรณรงค์ให้เจ้าหน้าที่ของรัฐ ยึดถือหลักนี้ในการปฏิบัติหน้าที่ให้เป็นตัวอย่างแก่สังคมและส่งเสริมสนับสนุนให้ประชาชนพัฒนา ตนเองไปพร้อมกัน เพื่อให้คนไทยมีความซื่อสัตย์ จริงใจ ขยัน อดทน มีระเบียบวินัย ประกอบอาชีพ สุจริตจนเป็นนิสัยประจำชาติ 3) หลักความโปร่งใส ได้แก่ การสร้างความไว้วางใจซึ่งกันและกันของคนในชาติ โดยปรับปรุงกลไกการทำงานขององค์กรทุกวงการให้มีความโปร่งใส มีการเปิดเผยข้อมูลข่าวสาร ที่เป็นประโยชน์อย่างตรงไปตรงมาด้วยภาษาที่เข้าใจง่าย ประชาชนเข้าถึงข้อมูลข่าวสารได้สะดวกและ มีกระบวนการให้ประชาชนตรวจสอบความถูกต้องชัดเจนได้ 4) หลักความมีส่วนร่วม ได้แก่ การเปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วมรับรู้ และ เสนอความ เห็น ในการตัดสิน ใจปัญห าสำคัญของประ เทศ ไม่ว่าด้วยการแจ้งความ เห็น การไต่สวนสาธารณะ การประชาพิจารณ์ การแสดงประชามติ หรืออื่น ๆ

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3