การศึกษาอิสระ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ

19 มีหน่วยงานธุรการของศาลปกครองที่เป็นอิสระ เป็นไปตามเหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติ จัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542 ศาลปกครองแบ่งออกเป็นสองชั้น ได้แก่ ศาลปกครองชั้นต้น การพิจารณาคดี เป็นการ วินิจฉัยโดยองค์คณะ มีตุลาการอย่างน้อยสามท่าน และศาลปกครองสูงสุด การพิจารณาคดี เป็นการ วินิจฉัยโดยองค์คณะ มีตุลาการอย่างน้อยห้าท่าน ศาลปกครองทำหน้ าที่พิจารณาข้อพิพาท ทางปกครองระหว่างหน่วยงานของรัฐหรือเจ้าหน้าที่รัฐด้วยกันเอง หรือหน่วยงานของรัฐกับประชาชน หรือเจ้าหน้าที่รัฐกับประชาชน (สำนักงานศาลปกครอง, 2552, น. 32 – 33) เมื่อวันจันทร์ที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2543 ถือเป็นวันก่อตั้งศาลปกครอง ภายหลังจากวันที่ พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิ จารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542 มีผลบังคับใช้ เกือบหนึ่งปี ต่อมาเมื่อวันที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2544 ศาลปกครองสูงสุดและศาลปกครองกลางได้เปิด ทำการเป็นครั้งแรกในประเทศไทย เดิมเริ่มขึ้นครั้งแรกในสมัยของพระบามสมเด็จพระจุลจอมเกล้า เจ้าอยู่หัว ซึ่งได้ก่อตั้งศาลปกครองเพื่อวินิจฉัยชี้ขาดข้อพิพาททางปกครองอย่างเป็นรูปธรรมใน สมัยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช (สำนักงานศาลปกครอง, 2552, น. 77) ต่อมาพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542 ซึ่งแก้ไข เพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง (ฉบับที่ 12) พ.ศ. 2562 กำหนดให้ศาลปกครองมีอำนาจไกล่เกลี่ยข้อพิพาทในคดีที่อยู่ในอำนาจพิจารณาพากษาของศาล ปกครอง ได้แก่ คดีพิพาทเกี่ยวกับการที่หน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐละเลยต่อหน้าที่ ตามที่กฎหมายกำหนดให้ต้องปฏิบัติหรือปฏิบัติหน้าที่ล่าช้าเกินสมควร คดีพิพาทเกี่ยวกับ การกระทำละเมิดหรือความรับผิดอย่างอื่นของหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐ คดีพิพาท เกี่ยวกับสัญญาทางปกครอง และคดีพิพาทอื่นตามระเบียบที่ประชุมใหญ่ตุลาการศาลปกครองสูงสุด กำหนด 2.2.2 แนวคิดเกี่ยวกับหลักนิติรัฐและหลักนิติธรรม หลักนิติรัฐ เป็นหลักการพื้นฐานที่สำคัญของกฎหมาย กล่าวคือ มีองค์ประกอบที่สำคัญ 2 ประการ คือ องค์ประกอบในทางรูปแบบและองค์ประกอบในทางเนื้อหา ดังนี้ (วรเจตน์ ภาคีรัตน์, 2555, น. 55 - 56) 1) องค์ประกอบในทางรูปแบบ หลักนิติรัฐให้ประกันความมั่นคงและแน่นอนแห่งนิติฐานะ ของบุคคล ซึ่งเป็นการประกันสิทธิและเสรีภาพขั้นพื้นฐานของประชาชน ได้แก่ หลักการแบ่งแยก

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3