การศึกษาอิสระ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ

20 อำนาจ หลักความชอบด้วยกฎหมายของการกระทำขององค์กรของรัฐ หลักการประกันสิทธิ ในกระบวนการพิจารณาในชั้นเจ้าหน้าที่และศาล และหลักการประกันสิทธิของปัจเจกบุคคลในการ เข้าถึงกระบวนการยุติธรรม 2) องค์ประกอบในทางเนื้อหา คือ รัฐต้องกระทำการโดยถูกต้องและยุติธรรมภายใต้ หลักความชอบด้วยกฎหมาย กล่าวคือ กฎหมายต้องไม่เปิดโอกาสให้ผู้ปกครองใช้อำนาจตามอำเภอใจ บุคคลทุกคนต้องเสมอภาคกัน ก่อให้เกิดหลักต่าง ๆ ตามมาในทางกฎหมาย เช่น หลักไม่มีความผิด ไม่มีโทษ โดยปราศจากกฎหมาย หลักการห้ามลงโทษตรากฎหมายย้อนหลังกำหนดโทษแก่บุคคล หลักการห้ามลงโทษซ้ำซ้อน เป็นต้น (วรเจตน์ ภาคีรัตน์, 2553) หลักนิติธรรม ถือกำเนิดจากกฎหมายจารีตประเพณีที่ถือปฏิบัติกันมาของประเทศอังกฤษ เป็นหลักกฎหมายพื้นฐานที่สำคัญและเป็นสากล ประกอบด้วยกฎหมายต้องใช้บังคับเป็นการทั่วไป กฎหมายที่เป็นโทษไม่มีผลบังคับย้อนหลัง การสันนิษฐานว่าผู้ต้องหาบริสุทธิ์จนกว่าจะมีคำพากษา ถึงที่สุดว่าได้กระทำผิด หลักความเป็นอิสระและเป็นกลางของผู้พิพากษา เจ้าหน้าที่รัฐต้องใช้อำนาจ ภายใต้กฎหมายที่กำหนดไว้ และกฎหมายต้องไม่ยกเว้นความผิดให้แก่การกระทำในอนาคต (สิทธิพร ประวัติรุ่งเรือง, 2559, น. 118 – 121) หลักนิติธรรมมีองค์ประกอบที่สำคัญ 6 ประการ ดังนี้ ประการแรก กฎหมายต้องใช้บังคับเป็นการทั่วไป โดยใช้บังคับกับบุคคลทุกคน เป็นการทั่วไปด้วยความเสมอภาคกัน ไม่มุ่งใช้กรณีใดกรณีหนึ่งเป็นการเฉพาะเจาะจง ประการที่สอง กฎหมายที่เป็นโทษไม่มีผลบังคับย้อนหลัง ซึ่งกฎหมายจะกำหนดให้ การกระทำของบุคคลใดเป็นความผิดทางอาญาและลงโทษย้อนหลังไม่ได้ ประการที่สาม การสันนิษฐานว่าผู้ต้องหาบริสุทธิ์จนกว่าจะมีคำพากษาถึงที่สุดว่าได้กระทำ ผิด หลักการนี้เพื่อเป็นประโยชน์ของจำเลยให้สามารถต่อสู้คดีได้อย่างเต็มที่ เป็นการประกันสิทธิ เสรีภาพขั้นพื้นฐานของจำเลยในคดีอาญา ประการที่สี่ หลักความเป็นอิสระและเป็นกลางของผู้พิพากษา ซึ่งไม่ ถูกแทรกแซง จากฝ่ายใด โดยผู้พิพากษาต้องมีความเป็นอิสระและมีความเป็นกลางไม่มีอคติใด ๆ ประการที่ห้า เจ้าหน้าที่รัฐต้องใช้อำนาจภายใต้กฎหมายที่กำหนดไว้ เกินกว่าขอบเขตที่ กฎหมายกำหนดไว้ไม่ได้ เพื่อเป็นการคุ้มครองสิทธิและเสรีของประชาชน

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3