การศึกษาอิสระ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
27 ต้องปฏิบัติหรือปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวล่าช้าเกินสมควรเข้าข่ายตามมาตรา 9 วรรคหนึ่ง (2) แห่ง พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542 กรณีนี้ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2 ได้มีหนังสือลงวันที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2551 ไปยังสำนักอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา เพื่อขอให้พิจารณารับรองมาตรฐานของผู้สำเร็จการศึกษาหลักสูตรนิติศาสตร์บัณฑิตของผู้ถูกฟ้องคดี ที่ 1 และเมื่อวันที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2552 เนติบัณฑิตยสภาได้ให้การรับรองหลักสูตรนิติศาสตร์ ของผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 ซึ่งเป็นระยะเวลาหลังจากที่ผู้ฟ้องคดีสำเร็จการศึกษาไม่นานนัก และ สภาทนายความได้ให้การรับรองหลักสูตรดังกล่าวเช่นเดียวกัน จึงเห็นได้ว่า แม้ผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสองจะ ไม่มีหน้าที่ตามกฎหมายที่จะต้องดำเนินการให้หลักสูตรนิติศาสตร์บัณฑิตของผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 ได้รับการรับรองจากองค์กรวิชาชีพ และไม่ปรากฏว่ามีนักศึกษาของผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 ได้รับ ความเสียหายจากกรณีดังกล่าวอีก ศาลปกครองสูงสุดจึงพิพากษากลับคำพิพากษาของศาลปกครอง ชั้นต้นเป็นให้ยกฟ้อง ( คำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดที่ อ.356/2563 , 2563) ข้อพิพาทดังกล่าวเกี่ยวกับการละเลยต่อหน้าที่หรือปฏิบัติหน้าที่ล่าช้าเกินสมควร ตามมาตรา 9 วรรคหนึ่ง (2) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542 โดยศาลปกครองสูงสุดพิพากษากลับคำพิพากษาศาลปกครองชั้นต้น เนื่องจากพิจารณา แล้วเห็นว่า เนติบัณฑิตยสภาได้ให้การรับรองหลักสูตรนิติศาสตร์ของผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 ในระยะเวลา หลังจากที่ผู้ฟ้องคดีสำเร็จการศึกษาได้ไม่นาน และนักศึกษาไม่ได้รับความเสียหายจากกรณีดังกล่าวอีก ศาลปกครองสูงสุดจึงพิพากษายกฟ้อง ลักษณะของข้อพิพาทตามมาตรา 9 วรรคหนึ่ง (2) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้ง ศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542 ซึ่งตามมาตรา 72 วรรคหนึ่ง (2) แห่ง พระราชบัญญัติเดียวกัน ให้ศาลปกครองมีอำนาจพิพากษาสั่งให้หัวหน้าหน่วยงานทางปกครองหรือ เจ้าหน้าที่ของรัฐต้องปฏิบัติหน้าที่ภายในระยะเวลาที่ศาลปกครองกำหนด เช่น กรณีการจดทะเบียน มีกฎหมายระบุว่าให้พิจารณาว่าจะรับจดทะเบียนหรือไม่ภายใน 30 วันนับแต่วันรับเรื่อง หากนายทะเบียนไม่ดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในระยะเวลาที่กำหนด จะถือว่าปฏิบัติหน้าที่ล่าช้า หรือหากไม่มีระยะเวลากำหนดไว้ ต้องพิจารณาตามปกติวิสัยโดยหากพ้นระยะเวลาไปแล้ว ถือได้ว่า เป็นการปฏิบัติหน้าที่ล่าช้าเกินสมควร ( แนวคำวินิจฉัยของศาลปกครอง เล่มที่ 1 , 2553, น. 8 – 9)
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3