การศึกษาอิสระ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
34 ยุติธรรม” อันมีผู้พิพากษาเป็นผู้วินิจฉัยชี้ขาดพิพาท แต่ในบางครั้งการจัดการความขัดแย้งหรือ ข้อพิพาทไม่อาจสามารถแก้ไขปัญหาดังกล่าวของคนในสังคมให้หมดไปได้ อีกทั้งกระบวนการพิจารณา ทางศาลอาจเกิดความล่าช้า มีการเสียค่าใช้จ่ายต่าง ๆ จึงนำไปสู่แนวคิดของการระงับข้อพิพาท คือ “การไกล่เกลี่ยข้อพิพาท” ซึ่งเป็นทางเลือกหนึ่งของการระงับข้อพิพาทก่อนการนำคดีไปฟ้องร้อง คดีต่อศาล เพื่อรักษาความสงบสุขของคนในสังคมให้สามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างสมานฉันท์และสันติ (วรพจน์ เวียงจันทร์, 2557, น. 11) ตามพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน (2554) ได้ให้คำนิยาม คำว่า “ไกล่เกลี่ย” หมายความว่า พูดจาให้ตกลงกัน พูดจาให้ปรองดองกัน ทำให้เรียบร้อย ทำให้มี ส่วนเสมอกัน (“ ไกล่เกลี่ย” , 2554) การไกล่เกลี่ยข้อพิพาท จึงเป็นกระบวนการแก้ปัญหา โดยมีบุคคลที่ สามเป็นคนกลางเข้ามาช่วยในการเจรจาต่อรองของคู่ความให้มีโอกาสตกลงกันได้มากขึ้น ด้วยความยินยอมของคู่ความเอง เพื่อหาทางออกในการระงับข้อพิพาทที่เกิดขึ้น (ชัย วงศ์คำจันทร์, 2558, น. 8) ซึ่งมีแนวคิดและทฤษฎีเกี่ยวกับการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทที่สำคัญ ดังนี้ 2.3.1 แนวคิดเกี่ยวกับการจัดการความขัดแย้ง การประนีประนอมข้อพิพาท และ การมีส่วนร่วมของภาคประชาชน 1) แนวคิดเกี่ยวกับการจัดการความขัดแย้ง ตามพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน (2554) ได้กำหนดนิยามของคำว่า “จัดการ” หมายความว่า สั่งงาน ควบคุมงาน ดำเนินงาน (“จัดการ”, 2554) ส่วนคำว่า “ขัดแย้ง” หมายความว่า ไม่ลงรอยกัน (“ข้อแย้ง”, 2554) จากคำนิยาม ข้างต้นสรุปได้ว่า การจัดการความขัดแย้ง เป็นการควบคุมการกระทำที่ไม่ลงรอยกัน บรรบพ ต้นธีรวงศ์ (2562, น. 44 - 45) อธิบายว่า แนวความคิดเกี่ยวกับปัญหาความ ขัดแย้ง โดย Robin ได้ให้ทัศนะเกี่ยวกับความขัดแย้งที่สำคัญ 3 ประการ ได้แก่ แนวคิดสมัยดั้งเดิม แนวคิดด้านมนุษยสัมพันธ์ และแนวคิดสมัยใหม่ ดังนี้ ประการแรก แนวคิดสมัยดั้งเดิม อธิบายว่า ความขัดแย้งเป็นสิ่งที่ไม่ดีและมีผลกระทบด้าน ลบต่อองค์การ ผู้บริหารจะต้องแก้ปัญหาความขัดแย้ง โดยออกกฎ ระเบียบที่เข้มงวด เพื่อลดความ ขัดแย้ง ประการที่สอง แนวคิดด้านมนุษยสัมพันธ์ อธิบายว่า ความขัดแย้งเกิดขึ้นโดยธรรมชาติ ซึ่งไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ แนวคิดด้านมนุษยสัมพันธ์ จึงสนับสนุนการยอมรับความขัดแย้ง เนื่องจาก ในช่วงบางเวลาความขัดแย้งอาจจะมีประโยชน์ต่อองค์การได้
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3