การศึกษาอิสระ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ

35 ประการที่สาม แนวคิดสมัยใหม่ อธิบายว่า องค์การที่มีความสงบสุข ความสามัคคี และ ความร่วมมือ หากไม่ยอมรับความขัดแย้ง การให้ความร่วมมือขององค์การจะกลายเป็นความเฉื่อยชา ที่ไม่ตอบสนองต่อความต้องการ เพื่อการเปลี่ยนแปลงและการคิดค้นสิ่งใหม่ ๆ แนวคิดสมัยใหม่ จึงสนับสนุนให้ผู้บริหารรักษาความขัดแย้งที่เกิดขึ้นในองค์การให้อยู่ในระดับต่ำสุด เพื่อให้องค์การได้ เติบโตอย่างสร้างสรรค์ นอกจากนี้ รัฐพล เย็นใจมา และสุรพล สุยะพรหม (2561, น. 224 - 238) อธิบายว่า ลักษณะของความขัดแย้งมีทั้งเชิงบวกและเชิงลบ ซึ่งความขัดแย้งเชิงบวก ทำให้เป็นประโยชน์ต่อ องค์กร มีความรอบคอบมากขึ้น มีแนวคิดเห็นใหม่ ๆ เพิ่มขึ้น ช่วยให้สามารถหาทางออก ในเชิงสมานฉันท์ ส่วนความขัดแย้งเชิงลบ ส่งผลให้เกิดการแตกแยกกัน ทำลายบรรยากาศในการ ทำงาน ทำให้องค์กรได้รับความเสียหาย สะท้อนให้เห็นว่า ความขัดแย้งเป็นสิ่งที่อาจเกิดขึ้นได้ จึงมีความจำเป็นที่ต้องมีแนวทางในการแก้ไขปัญหาความขัดแย้ง เพื่อให้คนในองค์กรสามารถอยู่ ร่วมกันได้อย่างสงบสุข ดังนี้ (สิญาธร นาคพิน และวิลาวัณย์ สมบูรณ์, 2562, น. 38 – 39) ประการแรก การร่วมมือ เป็นการจัดการโดยมีวัตถุประสงค์หรือจุดมุ่งหมายร่วมกัน ทำให้สามารถนำความคิดเห็นของกันและกันมาแลกเปลี่ยนกันได้ เพื่อให้ได้วิธีการแก้ไขปัญหาที่ดีที่สุด ประการที่สอง การประนีประนอม เป็นการเจรจาต่อรองกัน อาจยอมเสียสละในบางส่วน และได้รับประโยชน์ในบางอย่าง เพื่อให้เกิดความพึงพอใจของทั้งสองฝ่าย มีลักษณะเป็นการพบกัน ครึ่งทาง โดยมีเป้าหมายหรือวัตถุประสงค์ที่ต่างกัน ประการที่สาม การหลีกเลี่ยง เป็นการพยายามหลีกเลี่ยงหรือถอยห่างออกจากเหตุการณ์ที่ อาจนำไปสู่ความขัดแย้ง ซึ่งส่งผลดีกว่าการเผชิญหน้ากับความขัดแย้งโดยตรง ประการที่สี่ การเจรจาต่อรอง เป็นวิธีการแก้ปัญหาโดยความสมัครใจของคู่กรณี ด้วยการ เจรจาต่อรองแลกเปลี่ยนผลประโยชน์ซึ่งกันและกัน ทั้งนี้การเจรจาอาจขึ้นอยู่กับปัจจัยอื่น ๆ ด้วย เช่น อารมณ์ความรู้สึก การสื่อสารที่สามารถอธิบายให้อีกฝ่ายหนึ่งเข้าใจ บางครั้งอาจมีข้อปัญหา ด้านกฎหมาย ซึ่งต้องมีการตีความ เป็นต้น (กิตติภณ สืบมา, 2554, น. 21) 2) แนวคิดเกี่ยวกับการประนีประนอมข้อพิพาท ตามพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน (2554) ได้กำหนดนิยามของคำว่า “ประนีประนอม” หมายความว่า ผ่อนหนักผ่อนเบาให้แก่กัน ปรองดองกัน อะลุ้มอล่วยกัน (“ประนีประนอม”, 2564) ส่วนคำว่า “ประนีประนอมยอมความ” หมายความว่า ชื่อสัญญาซึ่งผู้เป็นคู่สัญญาทั้งสองฝ่ายระงับข้อพิพาทอันใดอันหนึ่งซึ่งมีอยู่หรือจะมีขึ้น

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3