การศึกษาอิสระ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ

36 นั้นให้เสร็จไปด้วยต่างยอมผ่อนผันให้แก่กัน (“ประนีประนอมยอมความ” , 2554) และคำว่า “ข้อพิพาท” หมายความว่า ข้อขัดแย้งหรือโต้แย้งระหว่างผู้เป็นคู่กรณี (“ข้อพิพาท”, 2554) จากแนวคิดข้างต้นสรุปได้ว่า “การประนีประนอมข้อพิพาท” เป็นการทำให้ข้อโต้แย้งของคู่กรณี ทั้งสองฝ่ายระงับด้วยความปองดองกัน ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 149 กำหนดให้ “นิติกรรม” หมายความว่า การใดๆ อันทำลง โดยชอบด้วยกฎหมายและด้วยใจสมัครมุ่งโดยตรงต่อการผูกนิติสัมพันธ์ขึ้นระหว่าง บุคคล เพื่อจะก่อ เปลี่ยนแปลง โอน สงวน หรือระงับซึ่งสิทธิ มาตรา 850 แห่งประมวลกฎหมายแพ่ง และพาณิชย์กำหนดให้ ประนีประนอมยอมความ คือ สัญญาซึ่งผู้เป็นคู่สัญญา ทั้งสองฝ่ายระงับ ข้อพิพาทอันใดอันหนึ่ง ซึ่งมีอยู่หรือจะมีขึ้นนั้นให้เสร็จไปด้วยต่างยอมผ่อนผันให้แก่กัน จึงจะเห็นได้ว่า การประนีประนอมยอมความในทางแพ่ง เป็นนิติกรรมอย่างหนึ่ง ซึ่งสัญญาประนีประนอมยอมความมี หลักเกณฑ์ที่สำคัญ ได้แก่ เป็นสัญญาต่างตอบแทนที่มีคู่สัญญาสองฝ่าย คู่สัญญาทั้งสองฝ่ายต่างยอม ผ่อนผันให้แก่กัน และก่อให้เกิดสิทธิขึ้นใหม่ระหว่างคู่สัญญา (อาทิตย์ บุญญะโสภัต, 2559, น. 12) 3) แนวคิดเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมของภาคประชาชน จะกล่าวถึงแนวคิดเกี่ยวกับกระบวน การยุติธรรมชุมชน ซึ่งผู้กระทำความผิด ผู้เสียหายและชุมชน ล้วนได้รับผลกระทบจากการกระทำ ความผิด ภาคประชาชนจึงต้องเข้ามามีส่วนร่วมในการกำหนดแนวทางและนโยบายในการสร้างความ เป็นธรรมให้แก่คนในสังคม เพื่อรักษาความสงบเรียบร้อย โดยชุมชนถือเป็นศูนย์กลางที่ช่วยแก้ไข ปัญหาของชุมชนในการให้ความปลอดภัยกับคนในชุมชน (กิตติภณ สืบมา, 2554, น. 24 – 25) ภาครัฐต้องมีเข้ามามีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาอย่างจริงจัง เพราะชุมชนถือเป็นแหล่งที่ใกล้ตัวและ เป็นทางเลือกที่ดีที่สุดในการแก้ปัญหาและสร้างความสงบสุข ภายใต้กรอบแนวความคิดกระบวนการ ยุติธรรมชุมชนเป็นการให้ภาคประชาชนเข้ามามีส่วนร่วม 2.3.2 ทฤษฎีเกี่ยวกับการแข่งขัน การเจรจาและการแก้ไขปัญหา การไกล่เกลี่ยข้อพิพาทมีทฤษฎีที่สำคัญ 3 ทฤษฎี คือ ทฤษฎีการแข่งขัน ทฤษฎีการเจรจา และทฤษฎีการแก้ปัญหา ดังนี้ ทฤษฎีแรก เรียกว่า “ทฤษฎีการแข่งขัน” อธิบายว่า ทรัพยากรมีอยู่อย่างจำกัดต้องแบ่งปัน โดยการแข่งขันเพื่อให้ประสบความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ ซึ่งรูปแบบการเจรจากำหนดขึ้น โดยถือผลประโยชน์ของตนเป็นสำคัญเพื่อให้ตนได้รับผลประโยชน์มากที่สุด ขณะที่อีกฝ่ายหนึ่งเป็น ฝ่ายสูญเสีย

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3