การศึกษาอิสระ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ

38 อย่างเดียว ส่วนข้อเสีย คือ ไม่อาจใช้ร่วมกับทฤษฎีการแข่งขันในแง่ว่า แม้ทรัพยากรมีอยู่อย่างจำกัดใน การแบ่งปัน ฝ่ายหนึ่งอาจได้ประโยชน์โดยไม่ทำให้อีกฝ่ายหนึ่งต้องสูญเสีย 2.3.3 ประเภทของการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท คำว่า “การไกล่เกลี่ยข้อพิพาท” หมายความว่า เป็นวิ ธีการระงับข้อพิพาทโดยมี “ผู้ไกล่เกลี่ย” ทำหน้าที่เสนอแนะแนวทางและช่วยหาทางออกให้กับคู่กรณี เพื่อตกลงประนีประนอม ยอมความกัน (สำนักระงับข้อพิพาท สำนักงานศาลยุติธรรม, ม.ป.ป., น. 15) โดยการไกล่เกลี่ย ข้อพิพาท สามารถแบ่งได้เป็น 2 ประการ คือ การไกล่เกลี่ยข้อพิพาทนอกศาล เป็นกระบวนการการ ไกล่เกลี่ยที่เกิดขึ้นก่อนที่คดีจะขึ้นสู่ศาล และการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทในศาล เป็นกระบวนการการ ไกล่เกลี่ยที่อยู่ระหว่างกระบวนการพิจารณาคดีของศาล (วิมาน กฤตพลวิมาน , จิตตศุภางค์ ตันติภิรมย์, และคณะ, 2563, น. 456) ประเภทของการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท มี 4 ประเภทที่สำคัญ ได้แก่ การเจรจาต่อรอง การประนีประนอมยอมความ การอนุญาโตตุลาการ และการดำเนินการพิจารณาในศาล ดังนี้ 1) การเจรจาต่อรอง หมายความว่า การที่คู่กรณีต้องการแก้ไขปัญหาโดยใช้สันติวิธีในการ แลกเปลี่ยนเงื่อนไขหรือผลประโยชน์บางประการต่อกัน เพื่อให้เกิดการประนีประนอมในการหา ข้อตกลงที่ยอมรับและทำให้พึงพอใจกันทั้งสองฝ่าย (เกียรติศักดิ์ วัฒนศักดิ์, 2553, น. 74) การเจรจา ต่อรอง หมายความว่า กระบวนการแก้ไขปัญหาระหว่างคู่กรณี โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อต้องการหา ข้อสรุปอันเป็นที่ยอมรับของทุกฝ่าย (สมชาย ภคภาสน์วิวัฒน์, 2545) การเจรจาต่อรองที่มีประสิทธิภาพ ได้แก่ การดำเนินการอย่างเป็นระบบ การเรียนรู้เพื่อทำ ความเข้าใจในสิ่งที่คู่กรณีกังวลใจ โดยต้องมีการเตรียมตัว วางแผนไว้ล่วงหน้า และเลือกผู้แทนในการ เจรจาที่เหมาะสม เพื่อการนำเสนอที่ดีในการเจรจาต่อรองในเชิงบวกที่ทั้งสองฝ่ายได้รับประโยชน์ ร่วมกัน และพร้อมที่จะเปิดใจกว้างยอมรับฟังทั้งสองฝ่าย สามารถยืดหยุ่นได้ เพื่อสามารถแก้ไขปัญหา โดยสันติวิธี เพื่อให้เป็นที่พึงพอใจของทั้งสองฝ่าย ที่สำคัญการเจรจานั้นหากผลการเจรจาไม่เป็นที่ พอใจ ควรจากกันด้วยดี (เกียรติศักดิ์ วัฒนศักดิ์, 2553, น. 74 – 75) ทักษะของการเจรจาต่อรอง ประกอบด้วยการโน้มน้าวใจหรือการจูงใจ การฟัง อวัจฉภาษา เทคนิคการตอบ และเทคนิคการถาม ดังนี้ (เกียรติศักดิ์ วัฒนศักดิ์, 2553, น. 77 – 79) ประการแรก คือ การโน้มน้าวใจหรือการจูงใจ เป็นการจูงใจให้อีกคู่กรณีฝ่ายหนึ่งยอม เปลี่ยนแปลงความคิดของตนเอง เช่น การพูดถึงในแง่ดีและแง่เสีย จะทำให้ผู้ฟังได้เห็นถึงมุมมองที่

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3