การศึกษาอิสระ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ

44 2.4.2 บทบาทและหน้าที่ของผู้ไกล่เกลี่ยข้อพิพาททางปกครอง ตามข้อ 4 ของระเบียบของที่ประชุมใหญ่ตุลาการในศาลปกครองสูงสุดว่าด้วยการไกล่เกลี่ย ข้อพิพาทในคดีปกครอง พ.ศ. 2562 กำหนดให้ “ผู้ไกล่เกลี่ยข้อพิพาท” หมายความว่า ตุลาการ ศาลปกครองที่ผู้รับผิดชอบราชการศาลแต่งตั้งให้เป็นผู้ไกล่เกลี่ยข้อพิพาท ผู้ไกล่เกลี่ยข้อพิพาท ต้องวางตนเป็นกลางและปราศจากอคติในการปฏิบัติหน้าที่ โดยผู้ไกล่เกลี่ยเป็นผู้กำหนดแนวทาง ขั้นตอน และระยะเวลาการดำเนินการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทตามที่ เห็นสมควร ซึ่งต้องไม่เกิน 90 วัน นับแต่วันนัดไกล่เกลี่ยข้อพิพาทครั้งแรก โดยคำนึงถึงพฤติการณ์ แห่งคดี ความประสงค์ของคู่กรณี การปฏิบัติต่อคู่กรณีอย่างเป็นธรรม และการระงับข้อพิพาทได้ด้วย ความรวดเร็ว เป็นไปตามข้อ 19 ประกอบข้อ 24 ของระเบียบของที่ประชุมใหญ่ตุลาการใน ศาลปกครองสูงสุด ว่าด้วยการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทในคดีปกครอง พ.ศ. 2562 จากที่กล่าวมาข้างต้นสรุปได้ว่า ลักษณะของผู้ไกล่เกลี่ยที่ดี ควรเริ่มจากการเป็นผู้ฟังที่ดี เพื่อสามารถรับรู้ได้ถึงปัญหาข้อพิพาทที่เกิดขึ้น ทำให้เข้าใจบริบทของเรื่องที่พิพาทได้เป็นอย่างดี และสามารถหาวิธีการแก้ไขปัญหาและสามารถเสนอแนะแนวทางให้แก่คู่กรณีได้อย่ างเหมาะสม อีกทั้งควรมีความเป็นกลาง เพื่อจะได้หาจุดระหว่างกลางที่เป็นที่พึงพอใจของคู่กรณีทั้งสองฝ่าย 2.4.3 ผลและประโยชน์ของการไกล่เกลี่ยข้อพิพาททางปกครอง เมื่อมีการไกล่เกลี่ยข้อพิพาททางปกครองสำเร็จ และประเด็นแห่งคดีเสร็จสิ้นไปทั้งหมด หรือบางส่วน ให้คู่กรณีที่เข้าร่วมในการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทร่วมกันทำบันทึกข้อตกลงหรือสัญญา ประนีประนอมยอมความเป็นหนังสือโดยลงมือชื่อต่อหน้าผู้ไกล่เกลี่ยข้อพิพาท ซึ่งบันทึกข้อตกลงหรือ สัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าว คู่กรณีอาจตกลงกันให้ผู้ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทเป็นผู้ช่วยเหลือใน การจัดทำก็ได้ เมื่อคู่กรณีได้ทำบันทึกข้อตกลงหรือสัญญาประนีประนอมยอมความแล้ว ให้ผู้ไกล่เกลี่ย ข้อพิพาทรายงานผลการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท พร้อมเสนอบันทึกข้อตกลงหรือสัญญาประนีประนอมยอม ความต่อองค์คณะเพื่อพิจารณาต่อไปโดยเร็ว เป็นไปตามข้อ 31 ของระเบียบของที่ประชุมใหญ่ ตุลาการในศาลปกครองสูงสุด ว่าด้วยการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทในคดีปกครอง พ.ศ. 2562 จากนั้น องค์คณะจะดำเนินการพิจารณาผลการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทตามบันทึกข้อตกลงหรือ สัญญาประนีประนอมยอมความของคู่กรณี หากไม่มีลักษณะต้องห้ามหรือมีการฉ้อฉล หรือผลการ ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทเป็นการละเมิดต่อบทบัญญัติแห่งกฎหมายอันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยหรือ ศีลธรรมอันดีของประชาชน และเป็นกรณีที่มีการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทสำเร็จ และทำให้ประเด็นแห่งคดี

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3