การศึกษาอิสระ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ

46 2.5.1 กฎหมายไทย 2.5.1.1 กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัย สถาบันอุดมศึกษามีหน้าที่และอำนาจในการจัดการศึกษาและพัฒนาการอุดมศึกษา ให้สอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และแผนการศึกษาแห่งชาติ จึงได้ให้ ความสำคัญกับการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท โดยมีกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัย ได้แก่ พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และพระราชบัญญัติการอุดมศึกษา พ.ศ. 2562 ซึ่งจะกล่าวถึงมาตราสำคัญที่ให้ความสำคัญเกี่ยวกับการไกล่เกลี่ย ดังนี้ 2.5.1.1.1 พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา มีอำนาจหน้าที่ในการศึกษาพร้อมวิเคราะห์ ถึงแนวทางการพัฒนาการอุดมศึกษาให้สอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และ แผนการศึกษาแห่งชาติ โดยให้สถานศึกษาแต่ละแห่งมีความเป็นอิสระและความเป็นเลิศทางวิชาการ เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งสถานศึกษาในแต่ละแห่ง ตามมาตรา 35/1 แห่งพระราชบัญญัติ การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่สิบสอง พ.ศ. 2560 – 2564 มีเป้าหมายข้อ 5 คือ มีความมั่นคงในเอกราชและอธิปไตย สังคมปลอดภัย สามัคคี สร้างภาพลักษณ์ดี และเพิ่มความเชื่อมั่นของนานาชาติต่อประเทศไทย ความขัดแย้งทางอุดมการณ์และความคิดในสังคม ลดลง ประกอบกับข้อ 4.5 ของยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศ กำหนดให้มียุทธศาสตร์การเสริมสร้าง ความมั่นคงแห่งชาติเพื่อการพัฒนาประเทศสู่ความมั่งคั่ง และยั่งยืน โดยมีเป้าหมายที่ 2 เน้นสังคม มีความสมานฉันท์ ประชาชนมีส่วนร่วมในการป้องกันแก้ไขปัญหา และผู้คนที่มีความคิดเห็นแตกต่าง กันสามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างสันติ โดยมีแนวทางการพัฒนา คือ ส่งเสริมกระบวนการยุติธรรม ทางเลือกและการช่วยเหลือประชาชนให้เข้าถึงความเป็นธรรม มีการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทก่อนเข้าสู่ กระบวนการยุติธรรม แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560 – 2579 ตามยุทธศาสตร์ที่ 1 เกี่ยวกับการจัด การศึกษาเพื่อความมั่นคงของสังคมและประเทศชาติ มีเป้าหมายข้อ 2.3 คือ คนทุกช่วงวัยได้รับ การศึกษา การดูแลและป้องกันจากภัยคุกคามในชีวิต รูปแบบใหม่ ซึ่งมีแนวทางการพัฒนา โดยสถานศึกษาควรส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้และมีการปลูกฝังแนวทางในการจัดการความขัดแย้ง

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3