การศึกษาอิสระ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
47 โดยสันติวิธี เพื่อลดระดับความรุนแรงและปัญหาต่าง ๆ ซึ่งมีจุดมุ่งหมายให้การทะเลาะวิวาทของ ผู้เรียนในสถานศึกษาลดลง จากที่กล่าวมาข้างต้นสรุปได้ว่า สำนักคณะกรรมการการอุดมศึกษา มีอำนาจหน้าที่ ในพัฒนาการอุดมศึกษาให้สอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และแผนการศึกษา แห่งชาติ โดยแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่สิบสอง พ.ศ. 2560 – 2564 และ แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560 – 2579 ให้ความสำคัญกับการจัดการความขัดแย้งโดยสันติวิธี และการสร้างความสมานฉันท์ เพื่อให้เกิดความสงบสุขและช่วยลดระดับความรุนแรงในสังคม 2.5.1.1.2 พระราชบัญญัติการอุดมศึกษา พ.ศ. 2562 พระราชบัญญัติการอุดมศึกษา พ.ศ. 2562 ได้มีการประกาศใช้โดยมีเหตุผล คือ สถาบันอุดมศึกษามีบทบาทในการจัดการอุดมศึกษา และพัฒนาบุคลากรของประเทศให้มีคุณภาพ และมีประสิทธิภาพ ตามนโยบายของรัฐ เพื่อสร้างความเป็นเลิศทางวิชาการ มีระบบบริหารจัดการที่มี ประสิทธิภาพ ลดความเหลื่อมล้ำและแก้ปัญหาให้สังคม เพื่อให้สังคมและเศรษฐกิจมีความ เจริญก้าวหน้า สถาบันอุดมศึกษามีหน้าที่และอำนาจในการจัดการศึกษา การวิจัยและการสร้าง นวัตกรรม การบริการวิชาการแก่สังคม การทะนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม หน้าที่และอำนาจอื่น ตามที่กฎหมายกำหนด ตามมาตรา 26 แห่งพระราชบัญญัติการอุดมศึกษา พ.ศ. 2562 การจัดการอุดมศึกษาต้องเป็นไปตามหลักการ 6 ประการ ได้แก่ หลักความ รับผิดชอบต่อสังคม หลักเสรีภาพทางวิชาการ หลักความเป็นอิสระ หลักความเสมอภาค หลักธรรมาภิบาล และหลักการอื่นตามที่กำหนดในพระราชกฤษฎีกา ตามมาตรา 9 แห่ง พระราชบัญญัติการอุดมศึกษา พ.ศ. 2562 สถาบันอุดมศึกษาต้องกำหนดพันธกิจที่มีต่อผู้เรียน บุคลากร สังคม และประเทศ โดยรวมอย่างเป็นรูปธรรม และประกาศต่อสาธารณะเพื่อให้รับทราบกันอย่างกว้างขวาง โดยต้องรับฟังความคิดเห็นของผู้มีส่วนได้เสียและปรับปรุงพันธกิจดังกล่าวให้สอดคล้องกับความ ต้องการของสังคมและประเทศเป็นระยะ ตามมาตรา 22 แห่งพระราชบัญญัติการอุดมศึกษา พ.ศ. 2562 ดังนั้น นอกจากสถาบันอุดมศึกษามีหน้าที่และอำนาจในการจัดการศึกษาแล้ว ต้องมีระบบบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพ เพื่อแก้ไขปัญหาให้สังคม โดยต้องรับฟังความคิดเห็น จากผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย จึงให้ความสำคัญกับการไกล่เกลี่ย
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3