การศึกษาอิสระ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
49 2.5.1.2.2 พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542 พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542 ได้มีการ ประกาศใช้โดยมีเหตุผล คือ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยได้บัญญัติให้จัดตั้งศาลปกครองขึ้น โดยมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีที่มีข้อพิพาททางกฎหมายปกครองระหว่างเอกชนกับหน่วยงานของ รัฐหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐ หรือระหว่างหน่วยงานของรัฐหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐด้วยกัน มาตรา 3 กำหนดให้ “หน่วยงานทางปกครอง” หมายความว่า กระทรวง ทบวง กรม ส่วนราชการที่เรียกชื่อ อย่างอื่นและมีฐานะเป็นกรม ราชการส่วนภูมิภาค ราชการส่วนท้องถิ่น รัฐวิสาหกิจที่ตั้งขึ้นโดย พระราชบัญญัติหรือพระราชกฤษฎีกา หรือหน่วยงานอื่นของรัฐ และให้หมายความรวมถึงหน่วยงานที่ ได้รับมอบหมายให้ใช้อำนาจทางปกครองหรือให้ดำเนินกิจการทางปกครอง” พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542 มีสาระสำคัญ ซึ่งเป็นเป็น 5 หมวด คือ หมวด 1 การจัดตั้งและเขตอำนาจศาลปกครอง หมวด 2 ตุลาการศาลปกครอง หมวด 3 คณะกรรมการตุลาการศาลปกครอง หมวด 4 วิธีพิจารณาคดีปกครอง และหมวด 5 สำนักงานศาลปกครอง ซึ่งจะอธิบายในประเด็นที่สำคัญ ใน 2 หมวด คือ หมวด 1 การจัดตั้งและเขตอำนาจศาลปกครอง และหมวด 4 วิธีพิจารณาคดีปกครอง เนื่องจากเกี่ยวกับ ประเภทของข้อพิพาททางปกครองและการไกล่เกลี่ยข้อพิพาททางปกครองที่อยู่ในอำนาจของ ศาลปกครอง ดังรายละเอียดต่อไปนี้ หมวด 1 การจัดตั้งและเขตอำนาจศาลปกครอง อธิบายเกี่ยวกับการจัดตั้งและเขต อำนาจศาลปกครอง โดยศาลปกครองแบ่งออกเป็นสองชั้น คือ ศาลปกครองสูงสุดและศาลปกครอง ชั้นต้น ได้แก่ ศาลปกครองกลางและศาลปกครองในภูมิภาค เป็นไปตามมาตรา 7 แห่งพระราชบัญญัติ จัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542 ทั้งนี้ ตามมาตรา 9 แห่งพระราชบัญญัติ เดียวกัน ศาลปกครองมีอำนาจพิจารณาพิพากษาหรือคำสั่งในเรื่อง ดังนี้ (1) คดีพิพาทเกี่ยวกับการที่หน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐกระทำการ โดยไม่ชอบด้วยกฎหมายไม่ว่าจะเป็นการออกกฎ คำสั่งหรือการกระทำอื่นใดเนื่องจากกระทำโดยไม่มี อำนาจหรือนอกเหนืออำนาจหน้าที่หรือไม่ถูกต้องตามกฎหมาย หรือโดยไม่ถูกต้องตามรูปแบบขั้นตอน หรือวิธีการอันเป็นสาระสำคัญที่กำหนดไว้สำหรับการกระทำนั้น หรือโดยไม่สุจริต หรือมีลักษณะเป็น
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3