การศึกษาอิสระ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ

51 72 แห่งพระราชบัญญัติเดียวกัน เป็นไปตามมาตรา 42 แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและ วิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542 ค ำฟ้ อ งต้อ ง ใช้ ถ้อย ค ำสุภ าพ แ ล ะต้อ งมี ( 1) ชื่ อแ ล ะที่ อยู่ ขอ งผู้ฟ้ อ งคดี (2) ชื่อหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐที่เกี่ยวข้องอันเป็นเหตุแห่งการฟ้องคดี (3) การกระทำทั้งหลายที่เป็นเหตุแห่งการฟ้องคดี พร้อมทั้งข้อเท็จจริงหรือพฤติการณ์ตามสมควร เกี่ยวกับการกระทำดังกล่าว (4) คำขอของผู้ฟ้องคดี และ(5) ลายมือชื่อของผู้ฟ้องคดี ถ้าเป็น การยื่นฟ้องคดีแทนผู้อื่นจะต้องแนบใบมอบฉันทะให้ฟ้องคดีมาด้วย เป็นไปตามตามมาตรา 45 แห่ง พระราชบัญญัติข้างต้น การดำเนินคดีปกครอง การพิจารณาพิพากษาคดีต้องดำเนินการให้เสร็จสิ้นไป โดยเร็ว แต่ต้องเปิดโอกาสให้คู่กรณีชี้แจงและแสดงพยานหลักฐานประกอบคำชี้แจงของตนตามควร แก่กรณี แต่การชี้แจงต้องทำเป็นหนังสือ เว้นแต่เป็นกรณีที่ศาลอนุญาตให้ชี้แจงด้วยวาจาต่อหน้าศาล เป็นไปตามมาตรา 55 แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542 สำหรับการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท บัญญัติอยู่ในมาตรา 66/1 - มาตรา 66/12 แห่ง พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542 ซึ่งมีการเพิ่มเติม โดยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง (ฉบับที่ 12) พ.ศ. 2562 โดยมี เหตุผลของการประกาศใช้ คือ การไกล่เกลี่ยข้อพิพาทเป็นกระบวนการหนึ่งที่ช่วยให้การบริหาร จัดการคดีมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น เนื่องจากเปิดโอกาสและส่งเสริมให้คู่กรณีมีทางเลือกในการระงับ ข้อพิพาททางปกครอง ให้ศาลปกครองมีอำนาจไกล่เกลี่ยข้อพิพาทในคดีปกครองภายใต้ หลักความชอบด้วยกฎหมาย เพื่อสามารถทำให้ข้อพิพาทยุติลงได้อย่างรวดเร็วด้วยความสมัครใจของ คู่กรณี และรักษาไว้ซึ่งสัมพันธ์ที่ดีระหว่างกัน พระราชบัญญัติดังกล่าวสรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้ 1) อำนาจของศาลปกครอง ตามมาตรา 66/1 ประกอบมาตรา 66/2 กำหนดให้ ศาลปกครองมีอำนาจไกล่เกลี่ยข้อพิพาทในคดีที่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครอง อันได้แก่ คดีพิพาทเกี่ยวกับหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐละเลยต่อหน้าที่ตามที่ กฎหมายกำหนด คดีพิพาทเกี่ยวกับการกระทำละเมิด คดีพิพาทเกี่ยวกับสัญญาทางปกครอง หรือคดี พิพาทอื่นตามที่กำหนดในระเบียบที่ประชุมใหญ่ตุลาการในศาลปกครองสูงสุด นอกจากนี้ตามมาตรา 66/3 กำหนดให้ห้ามมิให้มีการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทในกรณีที่มีลักษณะ อันได้แก่ เป็นการฝ่าฝืนหรือ ต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมาย เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3