การศึกษาอิสระ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
53 ดูแลของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ จึงเป็นหน่วยงานทางปกครอง โดย ศาลปกครอง ให้ความสำคัญกับการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท เป็นการเปิดโอกาสให้คู่กรณีมีทางเลือกด้วยความสมัครใจ ของคู่กรณี เพื่อรักษาไว้ซึ่งสัมพันธ์ที่ดีระหว่างกันและช่วยให้การบริหารจัดการคดีมีประสิทธิภาพ มากขึ้น นอกจากนี้ ศาลปกครองให้อำนาจแต่เพียงตุลาการเป็นผู้ทำหน้าที่ไกล่เกลี่ยข้อพิพาททาง ปกครอง เนื่องจากเพื่อเป็นการควบคุมและกำกับกรอบระยะเวลาในการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทให้สามารถ แล้วเสร็จภายในระยะเวลาที่เหมาะสมและรวดเร็ว ประกอบกับตุลาการผู้ไกล่เกลี่ยย่อมต้องศึกษาถึง สภาพของข้อเท็จจริงที่จะทำการไกล่เกลี่ย พฤติกรรมของคู่กรณีในการไกล่เกลี่ย และพฤติการณ์ แวดล้อมอื่นที่เกี่ยวข้อง ย่อมเป็นผู้กำหนดเวลาที่เหมาะสมให้เป็นไปตามที่กฎหมายกำหนดได้ ( คำ ชี้แจงเหตุผลรายประเด็นในการรับฟังความเห็นร่างพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณา คดีปกครอง (ฉบับที่ ...) พ.ศ. .... (ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทในคดีปกครอง) , 2561) 2.5.1.2.3 ระเบียบของที่ประชุมใหญ่ตุลาการในศาลปกครองสูงสุดว่าด้วยการ ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทในคดีปกครอง พ.ศ. 2562 ระเบียบของที่ประชุมใหญ่ตุลาการในศาลปกครองสูงสุดว่าด้วยการไกล่เกลี่ย ข้อพิพาทในคดีปกครอง พ.ศ. 2562 มีมาตราที่สำคัญ เช่น ข้อ 7 กำหนดให้การไกล่เกลี่ยข้อพิพาท ให้ดำเนินการโดยยึดถือความสมัครและความไว้วางใจของคู่กรณีที่มีต่อกัน ข้อ 10 กำหนดให้ ศาลดำเนินการด้วยความเป็นกลาง และปราศจากอคติในการปฏิบัติหน้าที่ ส่วนผลของการไกล่เกลี่ย ข้อ 31 วรรคหนึ่ง กำหนดให้กรณีที่การไกล่เกลี่ยข้อพิพาทสำเร็จและทำให้ประเด็นแห่งคดีเสร็จสิ้นไป ทั้งหมด หรือบางส่วน ให้คู่กรณีที่เข้าร่วมในการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทร่วมกันทำบันทึกข้อตกลงหรือ สัญญาประนีประนอมยอมความเป็นหนังสือ โดยลงลายมือชื่อต่อหน้าผู้ไกล่เกลี่ยข้อพิพาท 2.5.1.3 กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการไกล่เกลี่ย กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการไกล่ เกลี่ย ได้แก่ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 พระราชบัญญัติการ ไกล่เกลี่ยข้อพิพาท พ.ศ. 2562 ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการเสริมสร้างความสมานฉันท์ แห่งชาติ พ.ศ. 2550 ซึ่งจะกล่าวถึงมาตราสำคัญที่ให้ความสำคัญเกี่ยวกับการไกล่เกลี่ย ดังนี้ 2.5.1.3.1 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 หมวด 3 สิทธิและ เสรีภาพของปวงชนชาวไทย ตามมาตรา 26 กำหนดให้การตรากฎหมายที่มีผลเป็นการจำกัดสิทธิและ เสรีภาพของบุคคลต้องเป็นไปตามเงื่อนไขที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรม ในกรณีที่รัฐธรรมนูญมิได้บัญญัติ
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3