การศึกษาอิสระ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ

55 ในกระบวนการยุติธรรม ให้สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ โดยเคร่งครัด ปราศจากการแทรกแซงหรือ ครอบงำใด ๆ 2.5.1.3.2 พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 ได้มีการประกาศใช้โดย มีเหตุผล คือ ต้องกำหนดขอบเขตอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการต่าง ๆ ให้ชัดเจน เพื่อป้องกันการการ ปฏิบัติงานซ้ำซ้อนกันระหว่างส่วนราชการและเพื่อให้การบริหารงานเป็นไปตามนโยบายที่รัฐมนตรี กำหนดได้ ตามมาตรา 61/1 (4) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 กำหนดให้อำเภอมีอำนาจไกล่เกลี่ยหรือจัดให้มีการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท เพื่อให้เกิดความสงบเรียบร้อย ในสังคม ดังนั้น การบริหารราชการแผ่นดินได้ให้ความสำคัญกับการไกล่เกลี่ย โดยได้กำหนดให้ อำเภอมีอำนาจไกล่เกลี่ยข้อพิพาท เพื่อรักษาความสงบสุขของคนในสังคม 2.5.1.3.3 พระราชบัญญัติการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท พ.ศ. 2562 พระราชบัญญัติการไกล่ เกลี่ยข้อพิพาท พ .ศ . 2562 ได้มีการประกาศ ใช้ โดยมีเหตุผล คือ เพื่อให้กระบวนการไกล่เกลี่ยข้อพิพาททางแพ่งซึ่งมีทุนทรัพย์ไม่มากนักและข้อพิพาท ทางอาญาบางประเภทมีระบบมาตรฐานเดียวกัน โดยกำหนดคุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามของ ผู้ไกล่เกลี่ยและการขึ้นทะเบียนเป็นผู้ไกล่เกลี่ย สามารถสรุปสาระสำคัญ ดังนี้ ประการแรก เกี่ยวกับการไกล่ เกลี่ยข้อพิพาทและคุณ สมบัติผู้ ไกล่ เ กลี่ย ตามมาตรา 3 แห่งพระราชบัญญัติการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท พ.ศ. 2562 กำหนดให้ “การไกล่เกลี่ย ข้อพิพาท” หมายความว่า การดำเนินการเพื่อให้คู่กรณีมีโอกาสเจรจาตกลงกันระงับข้อพิพาททางแพ่ง และทางอาญา โดยสันติวิธีและปราศจากการวินิจฉัยชี้ขาดข้อพิพาท ทั้งนี้ ไม่รวมถึงก ารไกล่เกลี่ย ข้อพิพาทที่ดำเนินการในชั้นศาลและในชั้นการบังคับคดี และ“ผู้ไกล่เกลี่ย” หมายความว่า บุคคลซึ่ง ได้รับการขึ้นทะเบียนและได้รับการแต่งตั้งให้ทำหน้าที่ในการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท นอกจากนี้ ตามมาตรา 12 แห่ งพระราชบัญญัติการ ไกล่ เกลี่ยข้อพิพาท พ.ศ. 2562 กำหนดให้ผู้ไกล่เกลี่ยต้องถือปฏิบัติตามจริยธรรม กล่าวคือ ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความเป็น กลาง อิสระ ยุติธรรม และไม่เลือกปฏิบัติ เข้าร่วมการไกล่เกลี่ยข้อพิพาททุกครั้ง ปฏิบัติหน้าที่ด้วย ความรวดเร็ว ซื่อสัตย์สุจริต ไม่เรียกรับสินบน มีความสุภาพ รักษาความลับ ไม่กระทำการในลักษณะ เป็นการชี้ขาดข้อพิพาท และกรณีอื่นตามที่กำหนดในกฎกระทรวง ประกอบมาตรา 13 แห่ง พระราชบัญญัติเดียวกัน ผู้ไกล่เกลี่ยต้องมีความเป็นกลางและมีความเป็นอิสระ

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3