การศึกษาอิสระ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ

56 ประการที่สอง เกี่ยวกับกระบวนการไกล่เกลี่ยข้อพิพาททางแพ่งและทางอาญา ซึ่งกระบวนการไกล่เกลี่ยข้อพิพาททางแพ่ง ตามมาตรา 20 แห่งพระราชบัญญัติการไกล่เกลี่ย ข้อพิพาท พ.ศ. 2562 ได้กำหนดข้อยกเว้นไว้ว่า ถ้าเป็นเรื่องเกี่ยวกับสิทธิแห่งสภาพบุคคล สิทธิในครอบครัว หรือกรรมสิทธิ์ในอสังหาริมทรัพย์ ไม่สามารถไกล่เกลี่ยได้ ส่วนการบังคับตาม ข้อตกลงระงับข้อพิพาท เมื่อคู่กรณีฝ่ายหนึ่งเรียกร้องให้คู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่งปฏิบัติตามข้อตกลงระงับ ข้อพิพาทแล้ว แต่คู่กรณีฝ่ายที่ถูกเรียกร้องนั้นไม่ปฏิบัติตามข้อตกลงระงับข้อพิพาท คู่กรณีฝ่าย ที่เรียกร้องอาจยื่นคำร้องขอต่อศาลเพื่อให้บังคับตามข้อตกลงระงับข้อพิพาทได้ ตามมาตรา 32 แห่ง พระราชบัญญัติการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท พ.ศ. 2562 ส่วนการไกล่เกลี่ยข้อพิพาททางอาญา ตามมาตรา 35 แห่งพระราชบัญญัติการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท พ.ศ. 2562 กำหนดให้เป็นความผิดอันยอมความได้ และความผิดลหุโทษตามมาตรา 390 มาตรา 391 มาตรา 392 มาตรา 393 มาตรา 394 มาตรา 395 และมาตรา 397 แห่งประมวลกฎหมายอาญา และความผิดลหุโทษอื่นที่ไม่กระทบต่อส่วนรวมตามที่ กำหนดในพระราชกฤษฎีกา สามารถไกล่เกลี่ยได้ และเมื่อคู่กรณีทำข้อตกลงระงับข้อพิพาททางอาญา กันแล้ว ให้ถือว่าสิทธินำคดีอาญามาฟ้องระงับเฉพาะคู่กรณีซึ่งทำข้อตกลงดังกล่าว จากที่กล่าวมาข้างต้นสรุปได้ว่า ผู้ไกล่ เกลี่ยต้องมีคุณสมบัติ คือ มีความ เป็นกลาง อิสระ ยุติธรรม ไม่เลือกปฏิบัติ รักษาความลับของคู่กรณี และเป็นไปตามหลักจริยธรรม นอกจากนี้ กระบวนการไกล่เกลี่ยข้อพิพาททางแพ่งและทางอาญาไม่ใช่ทุกเรื่องที่สามารถไกล่เกลี่ยได้ ต้องดูข้อยกเว้นประกอบด้วย 2.5.1.3.4 ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการเสริมสร้างความสมานฉันท์ แห่งชาติ พ.ศ. 2550 ต ามม าตรา 3 ขอ งระ เบี ยบ ส ำนักน ายกรัฐมน ตรีว่ าด้วยการ เส ริมส ร้ าง ความสมานฉันท์แห่งชาติ พ.ศ. 2550 กำหนดให้ “การเสริมสร้างความสมานฉันท์” หมายความว่า การดำเนินการใด ๆ ที่นําไปสู่การป้องกันแก้ไขและจัดการกับปัญหาข้อพิพาทและความขัดแย้ง ในด้านต่าง ๆ ทั้งในระดับบุคคลและที่สืบเนื่อง จากกฎหมายและนโยบายสาธารณะ โดยรวมถึงการ ส่งเสริมแนวทางในการป้องกันแก้ไขและจัดการกับปัญหาข้อพิพาทและความขัดแย้งด้วยสันติวิธี ในรูปแบบต่าง ๆ การส่งเสริมกระบวนการยุติธรรมทางเลือก และการสร้างสันติวัฒนธรรมให้เกิดขึ้น ภายใต้หลักการและแนวทางการมีส่วนร่วม สันติวิธี และความยุติธรรมเชิงสมานฉันท์ และ “กระบวนการยุติธรรมทางเลือก” หมายความว่า กระบวนการจัดการปัญหาข้อพิพาทและความ

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3