การศึกษาอิสระ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ

57 ขัดแย้งที่อาศัยบุคคลผู้เป็นกลางมาช่วยเหลือ กำกับหรืออํานวยกระบวนการเพื่อให้คู่พิพาท ได้เจรจา ตกลงในปัญหาที่เกิดขึ้นร่วมกันแทนการฟ้องร้องต่อศาล เมื่อพิจารณาตามตัวอักษรและเจตนารมณ์ของระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วย การเสริมสร้างความสมานฉันท์แห่งชาติ พ.ศ. 2550 แสดงให้เห็นว่า ต้องการส่งเสริมเสริม กระบวนการยุติธรรมทางเลือก ภายใต้การเสริมสร้างความสมานฉันท์ โดยมีหลักการเกี่ยวกับ การมีส่วนร่วม การเจรจา เพื่อจัดการกับปัญหาข้อพิพาทและความขัดแย้ง โดยให้มีบุคคลซึ่งเป็นกลาง มาช่วยเจรจาคู่พิพาทที่มีปัญหากัน แทนการฟ้องคดีต่อศาล ดังนั้น สำนักนายกรัฐมนตรีได้ให้ ความสำคัญกับเรื่องการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทและความสมานฉันท์ในสังคมไทย 2.5.1.3.5 ประกาศ เรื่อง ยุทธศาสตร์ชาติ (พ.ศ. 2561 – 2580) ยุทธศาสตร์ชาติ พ.ศ. 2561 – 2580 ด้านการปรับสมดุลและพัฒนาระบบการ บริหารจัดการภาครัฐ ตามข้อ 4.8 กระบวนการยุติธรรมเคารพสิทธิมนุษยชนและปฏิบัติ ต่อประชาชนโดยเสมอภาค มีความเป็นกลาง น่าเชื่อถือ โปร่งใส ตรวจสอบได้ และข้อ 4.8.4 ส่งเสริม ระบบยุติธรรมทางเลือก ระบบยุติธรรมชุมชน และการมีส่วนร่วมของประชาชนในกระบวนการ ยุติธรรม ส่งเสริมให้มีการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทก่อนเข้าสู่กระบวนการยุติธรรม รวมถึงคุ้มครองสิทธิและ เสรีภาพประชาชนผู้ได้รับผลกระทบ จากกระบวนการยุติธรรมและความขัดแย้งระหว่างภาครัฐ เอกชน และชุมชน เป็นต้น 2.5.2 กฎหมายสาธารณรัฐฝรั่งเศส สาธารณรัฐฝรั่งเศส ได้มีการประกาศใช้รัฐบัญญัติเลขที่ 2016 - 1547 ว่าด้วยการปรับปรุง ให้การอํานวยความยุติธรรมมีความทันสมัยสำหรับศตวรรษที่ 21 ( LOI n c 2016-1547 du 18 novembre 2016 de modernization de la justice du XXle siècle , 2016) เมื่ อ วั น ที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559 รัฐบัญญัติฉบับนี้มีทั้งหมด 115 มาตรา ซึ่งมีสาระสำคัญเกี่ยวกับการส่งเสริม การเข้าถึงกฎหมายและความยุติธรรมของประชาชน การสนับสนุนให้ใช้วิธีการระงับข้อพิพาท ทางเลือก การปรับปรุงการจัดองค์กรและการดําเนินงานของบริการสาธารณะทางการยุติธรรมให้ดี ยิ่งขึ้น การกำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการฟ้องคดีแบบกลุ่ม การกำหนดให้มีการฟ้องคดีเพื่อขอให้ รับรองสิทธิ การปรับปรุงระบบการอํานวยความยุติธรรมทางการพาณิชย์ ให้สอดคล้องกับปัจจัยใน ระบบเศรษฐกิจและการจ้างงาน รวมทั้งบทบัญญัติอื่น ๆ

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3