การศึกษาอิสระ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ

59 3) อำนาจของศาลปกครอง ตามมาตรา L.213 – 4 3 กำหนดให้กระบวนการไกล่เกลี่ยนั้น มีผลผูกพัน ศาลมีอำนาจวินิจฉัยและสั่งให้มีผลบังคับตามข้อตกลงที่เกิดจากการไกล่เกลี่ยของคู่กรณี และคำวินิจฉัยของศาลเป็นที่สุด ตามมาตรา L.213 – 10 4 4) ประเภทของการดำเนินการไกล่เกลี่ย ได้แก่ การไกล่เกลี่ยโดยคู่กรณี (Médiation à l’initiative des parties) และการไกล่เกลี่ยโดยตุลาการศาลปกครอง (Médiation à l’initiative du juge) สำหรับการไกล่เกลี่ยโดยคู่กรณี ตามมาตรา L.213 – 5 วรรคหนึ่ง 5 กำหนดให้การไกล่เกลี่ย โดยคู่กรณี สามารถดำเนินการตามหลักเกณฑ์และขั้นตอนของการไกล่เกลี่ย และอาจมอบให้บุคคลใด ทำหน้าที่เป็นผู้ไกล่เกลี่ยได้ อนึ่ง เมื่อมีการไกล่เกลี่ยก่อนฟ้องคดีปกครอง จะไม่มีการคิด ค่าฤชาธรรมเนียมจากคู่กรณี ตามมาตรา L.213 – 5 วรรคท้าย 6 ส่วนการไกล่เกลี่ยโดยตุลาการ ศาลปกครองต้องได้รับความยินยอมจากคู่กรณี ตามมาตรา L.213 – 7 7 นอกจากนี้ยังมีพัชฌา จิตรมหึมา (2560, น. 1 - 9) อธิบายว่า ข้อพิพาททางปกครองของ สาธารณรัฐฝรั่งเศส เป็นกรณีเกี่ยวกับสัญญาทางปกครอง หรือการอนุญาตในงานก่อสร้าง หรืออำนาจ หน้าที่ทางปกครอง หรือการให้สวัสดิการทางสังคม เป็นต้น โดยการไกล่เกลี่ยมีความยืดหยุ่นและ ช่วยแก้ปัญหาของคดีปกครองได้อย่างรวดเร็ว และช่วยยุติข้อพาททางได้เป็นอย่างดี โดยวิธีพิจารณา การไกล่เกลี่ย มีการบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมขึ้นใหม่ใน ค.ศ. 2016 ประกอบด้วย (1) ลักษณะและ ความหมายของการไกล่เกลี่ย ตามมาตรา L.213 – 1 กำหนดให้การไกล่เกลี่ยที่ดำเนินการตามหมวดนี้ 3 Article L. 213-4. – Saisie de conclusions en ce sens, la juridiction peut, dans tous les cas où un processus de médiation a été engagé en application du présent chapitre, homologuer et donner force exécutoire à l’accord issu de la médiation. 4 Article L. 213-10. – Les décisions prises par le juge en application des articles L. 213-7 et L. 213-8 ne sont pas susceptibles de recours. 5 Article L. 213-5. – Les parties peuvent, en dehors de toute procédure juridictionnelle, organiser une mission de médiation et désigner la ou les personnes qui en sont chargées. 6 … Lorsqu’elle constitue un préalable obligatoire au recours contentieux en application d’une disposition législative ou réglementaire, la médiation présente un caractère gratuit pour les parties. 7 Article L. 213-7. – Lorsqu’un tribunal administratif ou une cour administrative d’appel est saisi d’un litige, le président de la formation de jugement peut, après avoir obtenu l’accord des parties, ordonner une médiation pour tenter de parvenir à un accord entre celles-ci.

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3