การศึกษาอิสระ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ

60 หมายถึง กระบวนการใดที่ดำเนินการโดยคู่กรณีทั้งสองฝ่ายหรือหลายฝ่าย เพื่อให้สามารถดำเนินการ โดยบรรลุข้อตกลงในการแก้ไขความขัดแย้งด้วยความช่วยเหลือของบุคคลที่สามซึ่งเป็นผู้ไกล่เกลี่ยที่ ได้รับการเลือกมาจากคู่กรณี หรือได้รับการแต่งตั้งขึ้นโดยศาลด้วยความสมัครใจของคู่กรณี ( 2) การ ปฏิบัติหน้าที่ของผู้ไกล่เกลี่ย ตามมาตรา L.213 – 2 กำหนดให้ผู้ไกล่เกลี่ยต้องปฏิบัติหน้าที่ให้สำเร็จ ด้วยความเป็นกลาง ตามอำนาจหน้าที่ และด้วยความมุ่งมั่น ต้องดำเนินการไกล่เกลี่ยเป็นความลับ เว้นแต่จะมีข้อตกลงเป็นอย่างอื่น (3) ลักษณะของคดีหรือข้อห้ามการไกล่เกลี่ย ตามมาตรา L.213 – 3 กำหนดให้การดำเนินการใดที่อยู่นอกเหนือสิทธิหรือเป็นการฝ่าฝืนสิทธิของคู่กรณี ไม่อาจไกล่เกลี่ยได้ (4) อำนาจของศาล ตามมาตรา L.213 – 4 กำหนดให้กระบวนการในการไกล่เกลี่ยนั้นมีผลผูกพันโดย ต้องบังคับตามหมวดนี้ ศาลมีอำนาจวินิจฉัยและสั่งให้มีผลบังคับตามข้อตกลงของคู่กรณีที่เกิดจากการ ไกล่เกลี่ย (5) วิธีการดำเนินการในการไกล่เกลี่ย ตามมาตรา L.213 – 5) (6) อายุความ ตามมาตรา L.213 – 6 กำหนดให้การสะดุดหยุดลงของระยะเวลาในการฟ้องคดี และอายุความสะดุดหยุดอยู่ นับแต่วันที่คู่กรณีได้ตกลงทำการไกล่เกลี่ยหรือกรณีไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือ นับแต่วันที่มีการประชุม เพื่อไกล่เกลี่ยครั้งแรก และ(7) คำวินิจฉัยของศาลในการไกล่เกลี่ยเป็นที่สุด ตามมาตรา L.213 – 10 ซึ่งสอดคล้องกับบุญอนันต์ วรรณพาณิชย์ (2564, น. 34) อธิบายว่า รัฐบัญญัติฉบับนี้ในส่วนของการ อํานวยความยุติธรรมทางปกครองนั้น ได้มีบทบัญญัติที่เป็นการแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายเดิม โดยมีผลเป็นการปรับปรุงระบบการอํานวยความยุติธรรมทางปกครองอยู่ 3 ส่วน คือ (1) การนำเอา วิธีการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทมาใช้เป็นวิธีการหลักในการระงับข้อพิพาททางเลือกแทนการประนีประนอม ข้อพิพาท (2) การยอมรับให้มีการฟ้องคดีแบบกลุ่มได้ และ(3) การยอมรับให้มีการฟ้องคดีเพื่อขอให้ รับรองสิทธิ จากที่กล่าวมาข้างต้นสรุปได้ว่า การไกล่เกลี่ยข้อพิพาททางปกครองของกฎหมายไทยและ สาธารณรัฐฝรั่งเศสแตกต่างกัน เนื่องจากสาธารณรัฐฝรั่งเศสให้อำนาจคู่กรณีมอบบุคคลอื่นที่ไม่ใช่ ตุลาการศาลปกครองทำหน้าที่เป็นผู้ไกล่เกลี่ยได้ ขณะที่ประเทศไทยกำหนดให้เพียงแต่ตุลาการ ศาลปกครองเป็นผู้ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทเท่านั้น เนื่องจากตุลาการผู้ไกล่เกลี่ยย่อมต้องศึกษาถึงสภาพของ ข้อเท็จจริงที่จะทำการไกล่เกลี่ย พฤติกรรมของคู่กรณีในการไกล่เกลี่ย และพฤติการณ์แวดล้อมอื่นที่ เกี่ยวข้อง ย่อมเป็นผู้กำหนดเวลาที่เหมาะสมให้เป็นไปตามที่กฎหมายกำหนดได้ ( คำชี้แจงเหตุผลราย ประเด็นในการรับฟังความเห็นร่างพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง (ฉบับที่ ...) พ.ศ. .... (ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทในคดีปกครอง) , 2561)

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3