การศึกษาอิสระ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
62 โดยต่างมีความเห็นว่า ควรเป็นองค์กรอิสระ ผู้ทำหน้าที่ในการไกล่เกลี่ยต้องผ่านการฝึกอบรมหลักสูตร การแก้ไขปัญหาความขัดแย้งและการไกล่เกลี่ย เป็นต้น จากการศึกษางานวิจัยที่เกี่ยวข้อง เรื่องทิศทางใหม่ในการจัดการความขัดแย้งเชิงสมานฉันท์ ในโรงเรียน การจัดการความขัดแย้งเชิงสมานฉันท์ในโรงเรียน: บทบาทของผู้ไกล่เกลี่ยเยาวชน และการพัฒนารูปแบบการไกล่เกลี่ยระงับข้อพิพาทโดยชุมชนอย่างมีสมานฉันท์ ได้กล่าวถึงแนวคิด ของการไกล่เกลี่ย และผลลัพธ์ที่ได้จากการไกล่เกลี่ยว่ามีความประสบความสำเร็จและได้รับความ พึงพอใจต่อการไกล่เกลี่ย ส่วนงานวิจัยเรื่องความคาดหวังของบุคลากรต่อการจัดตั้งศูนย์ไกล่เกลี่ยและ สมานฉันท์ในมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กล่าวถึงความคาดหวังของการจัดตั้งศูนย์การไกล่เกลี่ย สะท้อนให้ เห็นว่า งานวิจัยทั้งสี่เรื่องดังกล่าว ไม่ได้กล่าวถึงรูปแบบของการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทที่เกิดขึ้นใน มหาวิทยาลัย ดังนั้น ผู้วิจัยจึงสนใจศึกษาการไกล่เกลี่ยข้อพิพาททางปกครองในมหาวิทยาลัย ในกำกับของรัฐ เนื่องจากเป็นเรื่องใหม่ และมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐยังไม่มีข้อบังคับ ระเบียบหรือ ประกาศใดรองรับเกี่ยวกับการจัดตั้งการไกล่เกลี่ยข้อพิพาททางปกครองภายในมหาวิทยาลัย ในกำกับของรัฐเกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรมที่เป็นมาตรฐานเดียวกันในทุกสถาบันอุดมศึกษา
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3