การศึกษาอิสระ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
63 บทที่ 3 วิธีดำเนินการวิจัย การศึกษาและวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ในการค้นหาคำตอบอัน เป็น เป้าหมายหลัก คือ เพื่อนำเสนอรูปแบบที่เหมาะสมในการไกล่เกลี่ยข้อพิพาททางปกครองในมหาวิทยาลัย ในกำกับของรัฐ คำตอบดังกล่าวนี้ย่อมจะมาจากการเก็บรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลตามวิธีการวิจัย (Research Methodology) ที่กำหนดไว้ ดังนั้นการเก็บรวบรวมข้อมูลและการวิเคราะห์หาคำตอบ จึงได้กำหนดระเบียบวิธีการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ประกอบด้วยการ วิจัยเอกสาร (Documentary Research) และการวิจัยภาคสนาม (Field Research) ด้วยการ สัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) ข้อมูลที่ได้จากการใช้วิธีการวิจัยมีวัตถุประสงค์ที่จะนำมา วิเคราะห์เพื่อลดปัญหาความขัดแย้ง ลดปริมาณคดีขึ้นสู่ศาล และลดค่าใช้จ่ายในการดำเนินคดี เพื่อให้ เกิดความสมานฉันท์ของคนในองค์กรให้สามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างปกติสุข โดยมีรายละเอียด ดังนี้ 3.1 การวิจัยเอกสาร (Documentary Research) เป็นการเก็บรวบรวมข้อมูลที่เป็นเอกสาร โดยกำหนดประเภทของเอกสารและประเด็นที่ ต้องการใช้ในการวิเคราะห์ คือ กฎหมายมหาวิทยาลัย กฎหมายปกครอง กฎหมายการไกล่เกลี่ย และ เอกสารอื่นที่เกี่ยวข้องในลักษณะของการทบทวนวรรณกรรมที่เป็นแนวคิด ทฤษฎี หลักการ รวมทั้ง รายงานวิจัย ตำรา และบทความทั้งของไทยและต่างประเทศ ข้อมูลเอกสารที่ได้มา มีทั้งข้อมูลปฐมภูมิ (Primary Data) ข้อมูลทุติยภูมิ (Secondary Data) ที่เกี่ยวข้องกับการไกล่เกลี่ยข้อพิพาททาง ปกครองของมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ เอกสารที่ทบทวนและวิเคราะห์นั้นได้กำหนดประเด็นหัวข้อ กล่าวคือ แนวคิดมนุษยสัมพันธ์ แนวคิดการพัฒนาองค์การ แนวคิดเกี่ยวกับหลักนิติรัฐและหลักนิติ ธรรม ทฤษฎีเกี่ยวกับการกระทำทางปกครอง แนวคิดเกี่ยวกับรัฐสมัยใหม่และการจัดการภาครัฐ สมัยใหม่ แนวคิดเกี่ยวกับการจัดการความขัดแย้ง การประนีประนอมข้อพิพาท และการมีส่วนร่วม ของภาคประชาชน กฎหมายไทยและต่างประเทศ ซึ่งมีขอบเขตด้านกฎหมาย ดังนี้ 1) รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 2) พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 3) พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2562 4) พระราชบัญญัติการอุดมศึกษา พ.ศ. 2562 5) พระราชบัญญัติการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท พ.ศ. 2562
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3