การศึกษาอิสระ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ

64 6) พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542 7) พระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 8) รัฐบัญญัติเลขที่ 2016 - 1547 ว่าด้วยการปรับปรุงให้การอํานวยความยุติธรรม มีความทันสมัยสำหรับศตวรรษที่ 21 ของสาธารณรัฐฝรั่งเศส 9) ระเบียบของที่ประชุมใหญ่ตุลาการในศาลปกครองสู งสุดว่าด้วยการไกล่เกลี่ย ข้อพิพาทในคดีปกครอง พ.ศ. 2562 10) ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการเสริมสร้างความสมานฉันท์แห่งชาติ พ.ศ. 2550 11) ประกาศ เรื่อง ยุทธศาสตร์ชาติ (พ.ศ. 2561 – 2580) 3.2 การวิจัยภาคสนาม (Field Research) การวิจัยภาคสนามเป็นการเก็บรวบรวมข้อมูลมาจากผู้ที่เกี่ยวข้องหรือผู้ที่ได้รับ ผลกระทบโดยตรงจากการไกล่เกลี่ยข้อพิพาททางปกครองของมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ ดังนั้น จึงต้องมีกระบวนวิธีการในการเก็บข้อมูล ซึ่งการศึกษานี้กำหนดระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ คือ การสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interviews) 3.2.1 สัมภาษณ์เชิงลึก เป็นการเก็บรวบรวมข้อมูลเชิงลึก ด้วยการสัมภาษณ์ผู้ที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับ การไกล่เกลี่ยข้อพิพาททางปกครองของมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ โดยใช้วิธีการสัมภาษณ์ตาม ประเด็นที่ได้กำหนดไว้ล่วงหน้า และดำเนินการสัมภาษณ์โดยตรงระหว่างผู้วิจัยกับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ 3.2.2 ขอบเขตด้านผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ผู้ให้ข้อมูลสำคัญในการเก็บรวบรวมข้อมูล ในการสัมภาษณ์เชิงลึกแบ่งเป็น 2 กลุ่ม จำนวน 16 คน ประกอบด้วย 1. กลุ่มเจ้าหน้าที่ของรัฐ ดังนี้ 1 .1 ผู้ ไกล่ เกลี่ยข้อพิพาทหรือผู้มีความ เชี่ยวชาญทางด้านการไกล่ เกลี่ย ข้อพิพาททางปกครอง จากศาลปกครองสงขลา จังหวัดสงขลา รวมจำนวน 2 คน 1.2 ผู้บริหาร จากมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ จังหวัดเชียงใหม่และจังหวัดสงขลา รวมจำนวน 4 คน 1 .3 นิ ติ ก รห รื อ ผู้ ป ฏิ บั ติ ง า น ท า ง ด้ าน ก ฎ ห ม า ย จ า ก ฝ่ า ย นิ ติ ก า ร ห รื อ กองกฎหมาย มหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ จังหวัดเชียงใหม่และจังหวัดสงขลา รวมจำนวน 4 คน

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3