การศึกษาอิสระ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ

67 3.4 การวิเคราะห์ข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพที่ได้มาจากการสัมภาษณ์ ผู้วิจัยมีลำดับขั้นตอนในการ วิเคราะห์ ดังนี้ 1. ผู้วิจัยจะรวบรวมข้อมูลที่ได้จากการสัมภาษณ์มาวิเคราะห์ในแต่ละประเด็นแล้วจัด กลุ่มที่มีความเห็นสอดคล้องกัน และไม่สอดคล้องกันในแต่ละด้าน เพื่อเปรียบเทียบคุณลักษณะและ จัดลำดับความสำคัญของข้อมูล 2. ผู้วิจัยนำข้อมูลที่ได้จากการสัมภาษณ์ที่จัดลำดับความสำคัญแล้ว มาเปรียบเทียบกับ แนวคิด ทฤษฎีหรือข้อมูลทางเอกสารต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อที่ผู้วิจัยจะได้ทราบถึงลักษณะที่มีความ คล้ายคลึงกัน และแตกต่างกันของข้อมูล 3. ผู้วิจัยนำข้อมูลที่ได้จากการสัมภาษณ์และจากการศึกษาเอกสารต่าง ๆ มาทำการ วิเคราะห์ข้อมูล อย่างเป็นระบบ เพื่อนำไปสู่การเชื่อมโยงข้อมูลเข้าด้วยกัน แสดงความสำคัญของ ข้อมูลได้ชัดเจนยิ่งขึ้น เพื่อสะดวกในการวิเคราะห์และการเขียนรายงาน ข้อมูลที่ได้จากการศึกษา จะเป็นข้อมูลที่ไม่ใช่ตัวเลข แต่ประกอบด้วยการพรรณนาที่มีรายละเอียดและลึก มีการอ้างอิงโดยตรง เกี่ยวกับที่มาของข้อมูลไม่ว่าจะเป็น ข้อมูลที่ได้จากการค้นคว้าหรือข้อมูลเอกสาร ดังนั้น ข้อมูลเชิงคุณภาพที่ได้จากการตอบประเด็นสัมภาษณ์และข้อมูลเอกสาร ต่าง ๆ จะถูกนำมาวิเคราะห์และประมวลผล ซึ่งการวิเคราะห์ จะออกมาในรูปเชิงพรรณนา นำไปสู่คำตอบในการศึกษา และสรุปตีความตามหลักวิชาประกอบการเขียนรายงาน โดยแสดง ให้เห็นถึงรูปแบบที่เหมาะสมในการไกล่เกลี่ยข้อพิพาททางปกครองในมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3