การศึกษาอิสระ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ

71 ธรรมาภิบาลและจริยธรรม และความรับผิดทางละเมิด แล้วแต่กรณี จึงเป็นทางเลือกหนึ่งที่ดีและ ช่วยรักษาความสัมพันธ์อันดีต่อกัน เป็นไปตาม “ทฤษฎีการเจรจา” ที่คู่กรณีหรือคู่เจรจาสามารถหา จุดร่วมกันที่เป็นประโยชน์ของทั้งสองฝ่าย โดยที่ต่างฝ่ายต่างยอมรับในบางอย่าง และยอมเสียใน บางอย่าง เพื่อให้การเจรจานั้นประสบความสำเร็จ ซึ่งหากคู่กรณีไม่พอใจการปฏิบัติหน้ าที่ของ เจ้าหน้าที่ของรัฐเนื่องมาจากการละเลยต่อหน้าที่หรือปฏิบัติหน้าที่ล่าช้าเกินสมควร จึงสามารถเจรจา หาจุดร่วมกันกับมหาวิทยาลัยได้ เพื่อได้ตกลงทำความเข้าใจในเบื้องต้นของกระบวนการปฏิบัติงาน ว่ามีเหตุผลติดขัดประการใด ซึ่งสอดคล้องกับข้อ 11 (7) ของประกาศมหาวิทยาลัยทักษิณ เรื่อง แนวปฏิบัติการจัดการข้อร้องเรียน พ.ศ. 256 1 กำหนดให้ขั้นตอนการปฏิบัติงานของศูนย์ รับข้อร้องเรียน ในการจัดการข้อร้องเรียน ดังนี้ (7) หัวหน้าศูนย์รับข้อร้องเรียนอาจพิจารณาให้ข้อมูล ข้อเท็จจริง หรือการไกล่เกลี่ยให้ยุติเรื่องในกรณีที่ข้อร้องเรียนอาจเกิดจากความเข้าใจผิดของ ผู้ร้องเรียนก็ได้ และข้อ 6.2 ของประกาศมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เรื่อง หลักเกณฑ์การรับและ การพิจารณาเรื่องร้องเรียนหรือร้องทุกข์ กำหนดให้หากเป็นเรื่องที่อาจไกล่เกลี่ยได้ ให้ดำเนิน การไกล่เกลี่ยตามกระบวนการไกล่เกลี่ยและสมานฉันท์ของมหาวิทยาลัย แสดงให้เห็นว่า ประกาศ มหาวิทยาลัยทักษิณและมหาวิทยาลัยเชียงใหม่เกี่ยวกับการจัดการข้อร้องเรียนหรือร้องทุกข์ ได้ให้ ความสำคัญเกี่ยวกับการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทก่อนนำเรื่องส่งให้คณะกรรมการที่มีอำนาจพิจารณา ทางปกครอง กรณีนี้จึงสามารถอาศัยอำนาจจากสภามหาวิทยาลัยประกอบประกาศดังกล่าว เพื่อจัดตั้งการไกล่เกลี่ยข้อพิพาททางปกครองในมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐให้เกิดขึ้นอย่างเป็น รูปธรรมได้ ภายใต้การกระทำทางปกครองต้องไม่ขัดต่อกฎหมาย และหลักไม่มีกฎหมาย ไม่มีอำนาจ 2) กรณีผู้ปฏิบัติงานในมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐหรือนิสิตถูกกล่าวหาโดยมีหลักฐาน ตามสมควรว่ากระทำละเมิดทางปกครอง ผู้นั้นจะถูกดำเนินการทางวินัย จรรยาบรรณหรือ ธรรมาภิบาลและจริยธรรม หรือความรับผิดทางละเมิด แล้วแต่กรณี ซึ่งเป็นข้อพิพาทอันเนื่องมาจาก การกระทำละเมิดทางปกครอง มีลักษณะ ดังนี้ (1) ข้อพิพาทเกี่ยวกับการกระทำละเมิด หรือ (2) ความรับผิดอย่างอื่นของหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐ (3) อันเกิดจากการใช้อำนาจตามกฎหมาย หรือจากกฎ คำสั่งทางปกครอง หรือคำสั่งอื่น (4) หรือจากการละเลยต่อหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนดให้ต้องปฏิบัติหรือปฏิบัติหน้าที่ ดังกล่าวล่าช้าเกินสมควร ตัวอย่างเช่น ละเมิดที่เกิดจากการที่พนักงานมหาวิทยาลัยขับรถยนต์ของมหาวิทยาลัย โดยประมาทชนอาคารเรียนเป็นเหตุให้มหาวิทยาลัยได้รับความเสียหาย ละเมิดเกิดจากการที่ลูกจ้าง ของมหาวิทยาลัย ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่การเงินของมหาวิทยาลัยประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้มหาวิทยาลัย ได้รับความเสียหาย เป็นต้น

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3