การศึกษาอิสระ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ

73 4.2.2 กรณีการดำเนินการอุทธรณ์และร้องทุกข์ประจำมหาวิทยาลัย สำหรับข้อพิพาททางปกครองที่เกิดขึ้นในมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐที่สามารถไกล่เกลี่ยได้ ก่อนเข้าสู่การดำเนินการอุทธรณ์และร้องทุกข์ประจำมหาวิทยาลัย คือ กรณี ผู้ปฏิบัติงานใน มหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐเห็นว่าตนไม่ได้รับความเป็นธรรมหรือมีความคับข้องใจเนื่องจากการ กระทำหรือคำสั่งของผู้บังคับบัญชา ตัวอย่างเช่น การบริหารงานบุคคลโดยเลือกปฏิบัติอย่างไม่เป็น ธรรม ไม่มอบหมายงานให้ปฏิบัติ ประวิงเวลาหรือหน่วงเหนี่ยวดำเนินการบางเรื่องอันเป็นเหตุให้ไม่ได้ รับสิทธิประโยชน์อันพึงมีพึงได้รับ เป็นต้น ผู้นั้นมีสิทธิ “ร้องทุกข์” ต่อผู้บังคับบัญชาหรือ คณะกรรมการอุทธรณ์และร้องทุกข์ประจำมหาวิทยาลัยได้ แล้วแต่กรณี ซึ่งสอดคล้องกับ ข้อ 50 วรรคหนึ่ง ของข้อบังคับมหาวิทยาลัยทักษิณว่าด้วยการบริหารงานบุคคลของมหาวิทยาลัย พ.ศ. 2563 กำหนดให้เมื่อมีการร้องทุกข์ต่อคณะกรรมการอุทธรณ์และร้องทุกข์ประจำมหาวิทยาลัย แล้ว และผู้ร้องทุกข์ประสงค์จะทำความเข้าใจกับผู้บังคับบัญชาผ่านคณะกรรมการอุทธรณ์และ ร้องทุกข์ประจำมหาวิทยาลัย ให้คณะกรรมการอุทธรณ์และร้องทุกข์ประจำมหาวิทยาลัยมีอำนาจเรียก ผู้ร้องทุกข์และผู้บังคับบัญชามาพบ เพื่อให้มีการทำความเข้าใจร่วมกัน รักษาความสัมพันธ์อันดี ระหว่างกัน และร่วมกันแก้ไขข้อคับข้องใจดังกล่าว และข้อ 25 วรรคหนึ่ง ของข้อบังคับมหาวิทยาลัย สงขลานครินทร์ว่าด้วยการอุทธรณ์และการร้องทุกข์ของพนักงานมหาวิทยาลัย พ.ศ. 2559 กำหนดให้ เพื่อให้เกิดความเข้าใจและสัมพันธ์อันดีระหว่างผู้บังคับบัญชากับผู้ใต้บังคับบัญชา เมื่อมีกรณีเป็น ปัญหาขึ้นระหว่างกัน ควรจะได้ปรึกษาหารือหรือทำความเข้าใจกัน โดยให้ผู้บังคับบัญชานั้นให้โอกาส และรับฟังหรือสอบถามเกี่ยวกับปัญหาดังกล่าว เพื่อเป็นทางแห่งการทำความเข้าใจและแก้ปัญหา ที่เกิดขึ้นในชั้นต้นก่อน หากไม่ได้รับคำชี้แจง หรือได้รับคำชี้แจงแล้วไม่เป็นที่พอใจหรือหาก ผู้ใต้บังคับบัญชาไม่ประสงค์จะปรึกษาหารือก็ให้ร้องทุกข์ตามข้อบังคับนี้ แสดงให้เห็นว่ า ข้อบังคับ มหาวิทยาลัยทักษิณและมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์เกี่ยวกับการอุทธรณ์และการร้องทุกข์ ได้ให้ความสำคัญเกี่ยวกับการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทก่อนนำเรื่องส่งให้คณะกรรมการที่มีอำนาจพิจารณา ทางปกครอง กรณีนี้จึงสามารถนำกระบวนการไกล่เกลี่ยมาใช้กับข้อพิพาททางปกครองลักษณะนี้ได้ ก่อนนำเข้าสู่การพิจารณาของคณะกรรมการอุทธรณ์และร้องทุกข์ประจำมหาวิทยาลัย ทั้งนี้ สามารถ อาศัยอำนาจจากสภามหาวิทยาลัยประกอบข้อบังคับดังกล่าว เพื่อจัดตั้งการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท ทางปกครองในมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐให้เกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรมได้ ภายใต้กา รกระทำ ทางปกครองต้องไม่ขัดต่อกฎหมาย และหลักไม่มีกฎหมาย ไม่มีอำนาจ สำหรับข้อพิพาททางปกครองที่เกิดขึ้นในมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐที่ไม่สามารถไกล่เกลี่ย ได้ก่อนเข้าสู่การดำเนินการอุทธรณ์และร้องทุกข์ประจำมหาวิทยาลัย คือ กรณีผู้ปฏิบัติงานใน มหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐหรือนิสิตผู้ใดถูกลงโทษทางวินัย เป็นข้อพิพาทอันเนื่องมาจากการกระทำ

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3