การศึกษาอิสระ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ

76 ศาลปกครอง ซึ่งกรณีดังกล่าว เป็นเรื่องที่สามารถไกล่เกลี่ยได้ จึงควรปรับปรุงแก้ไขพระราชบัญญัติ จัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542 โดยให้หน่วยงานทางปกครองสามารถ ไกล่เกลี่ยข้อพิพาททางปกครองได้ก่อนนำคดีขึ้นสู่ศาล โดยผู้วิจัยได้สัมภาษณ์เชิงลึก เพื่อหารูปแบบที่ เหมาะสมในการไกล่เกลี่ยข้อพิพาททางปกครองในมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐให้เกิดขึ้นอย่างเป็น รูปธรรม ผลการสัมภาษณ์เชิงลึก มีดังนี้ ประเด็นที่แสดงให้เห็นถึงการแก้ไขปัญหาข้อพิพาทที่เกิดขึ้นในมหาวิทยาลัยในกับของรัฐ จากการสัมภาษณ์เชิงลึกของกลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญ โดยแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ 1. กลุ่มผู้ไกล่เกลี่ย ข้อพิพาทหรือผู้มีความเชี่ยวชาญทางด้านการไกล่เกลี่ยข้อพิพาททางปกครองจากศาลปกครองสงขลา 2. กลุ่มผู้บริหาร และ3. กลุ่มผู้ปฏิบัติงาน คำตอบที่ได้จากการสัมภาษณ์เชิงลึกเพื่อนำไปประกอบการ สร้างรูปแบบที่เหมาะสมในการไกล่เกลี่ยข้อพิพาททางปกครองในมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ ให้เกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรม มีดังนี้ 1) ประเด็นเกี่ยวกับรูปแบบที่เหมาะสมของการแก้ไขปัญหาข้อพิพาทที่เกิดขึ้นใน มหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ ควรดำเนินการอย่างไรบ้าง คำตอบ ผู้ให้ข้อมูลสำคัญทั้ง 3 กลุ่ม เห็นสอดคล้องกันว่า ให้ใช้วิธีการระงับข้อพิพาท โดยใช้ “การไกล่เกลี่ยข้อพิพาท” ภายในมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐก่อนนำคดีขึ้นสู่ศาลปกครอง โดยมีข้อเสนอที่หลากหลายกัน ดังนี้ (1) กลุ่มผู้ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทหรือผู้มีความเชี่ยวชาญทางด้านการไกล่เกลี่ยข้อพิพาททาง ปกครองจากศาลปกครองสงขลา ให้ความเห็นว่า ระบบบริหารงานต้องอยู่บนฐานของ หลักธรรมาภิบาล ผู้บริหารต้องบริหารงานอย่างโปร่งใส เปิดเผยได้ และใช้อำนาจอย่างระมัดระวัง ไม่เลือกปฏิบัติอย่างไม่เป็นธรรม มีมาตรฐานเดียวกันกับทุกคน ซึ่งแนวทางวิธีการระงับข้อพิพาท โดยใช้ “การไกล่เกลี่ยข้อพิพาท” ภายในมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐก่อนนำคดีขึ้นสู่ศาลเป็นเรื่องที่ดี แต่ต้องออกระเบียบหรือแนวปฏิบัติให้ชัดเจน เสนอให้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการหรือผู้ทำหน้าที่ใน การไกล่เกลี่ยประกอบด้วยบุคคลภายนอกและภายในมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐผ่านมติจาก สภามหาวิทยาลัย ซึ่งต้องผ่านการอบรมการไกล่เกลี่ยตามที่กฎหมายรองรับ ต้องเข้าใจบริบทและ ระเบียบของมหาวิทยาลัยเป็นอย่างดี เพื่อพัฒนาระบบการไกล่เกลี่ยในเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ (2) กลุ่มผู้บริหาร ให้ความเห็นว่า ผู้บริหารต้องเปิดใจรับฟังและมีเวทีรับฟังให้ ผู้ปฏิบัติงานในมหาวิทยาลัยแลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างกัน และต้องจัดระบบการบริหารบุคคล ให้มีความยืดหยุ่น สร้างระบบการไกล่เกลี่ย เพื่อทำให้บุคลากรในองค์กรอยู่กันอย่างสมานฉันท์ เสนอให้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการหรือผู้ทำหน้าที่ในการไกล่เกลี่ยประกอบด้วยบุคคลภายนอกและ ภายในมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ อาจให้แต่ละมหาวิทยาลัยร่วมมือกับศาลปกครอง เพื่อจัดตั้ง การไกล่เกลี่ยข้อพิพาทภายในมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ ผู้ที่ทำหน้าที่ไกล่เกลี่ยต้องศึกษา

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3