การศึกษาอิสระ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ

78 สำคัญภายในมหาวิทยาลัย และช่วยรักษาความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างกัน ทั้งนี้ การไกล่เกลี่ยข้อพิพาท ภายในมหาวิทยาลัยเห็นควรถอดเป็นบทเรียนเพื่อนำไปสู่การป้องกัน และเพื่อสร้างระบบการบริหาร ให้รอบคอบมากขึ้น ส่วนข้อเสียหรือข้อจำกัดของการไกล่เกลี่ย คือ ข้อบังคับภายในมหาวิทยาลัยเปิดช่องให้ มีการไกล่เกลี่ยก่อนฟ้องคดีมากน้อยเพียงใด ไม่ใช่ทุกเรื่องที่สามารถไกล่เกลี่ยได้ คู่กรณีขาดความรู้ ความเข้าในการไกล่เกลี่ย ซึ่งอาจมองว่าถูกบังคับให้มาไกล่เกลี่ย ผู้ไกล่เกลี่ยจึงต้องอธิบายและ สร้างความเข้าใจให้คู่กรณีทราบถึงประโยชน์ของการไกล่เกลี่ย และต้องเป็นการสมัครใจของคู่กรณีทั้ง สองฝ่าย นอกจากนี้ คู่กรณีอาจไม่ยอมรับผู้ที่ทำหน้าที่ไกล่เกลี่ย ซึ่งการหาผู้ไกล่เกลี่ยที่มีความรู้ ความสามารถและประสบการณ์ที่เพียงพอ เพราะอาจทำให้การไกล่เกลี่ยข้อพิพาทไม่สำเร็จ (3) กลุ่มผู้ปฏิบัติงาน ให้ความเห็นว่า การไกล่เกลี่ยข้อพิพาททางปกครองมีข้อดีมากกว่า ข้อเสีย โดยข้อดีของการไกล่เกลี่ย คือ ช่วยสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างกันในองค์กร และเป็น ทางเลือกหนึ่งที่ช่วยลดปัญหาความขัดแย้งระหว่างกัน ส่วนข้อเสีย คือ หากผู้ที่เข้ามาใช้กลไกในการไกล่เกลี่ยที่ไม่สุจริต ทำให้ข้อบังคับไม่มี ประสิทธิภาพรวมถึงหากกรรมการผู้ที่ทำหน้าที่เป็นผู้ไกล่เกลี่ยไม่ได้เป็นกลาง นำไปสู่ช่องทางทำให้ สภาพบังคับทางปกครองไม่สามารถทำได้ จากที่กล่าวมาข้างต้นเห็นสมควรจัดทำ “(ร่าง) ข้อบังคับมหาวิทยาลัยว่าด้วยการไกล่เกลี่ย ข้อพิพาททางปกครอง พ.ศ. ....” เพื่อเป็นรูปแบบที่เหมาะสมของการจัดตั้งการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท ทางปกครองในมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐให้เกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรม ดังนี้ 1) หลักการและเหตุผล โด ยที่พ ระ ร าชบัญ ญั ติ ก า รอุดมศึ กษ า พ .ศ . 25 62 ม าต ร า 6 ก ำห น ด ให้ สภ า สถาบันอุดมศึกษาพัฒนาความรู้ จัดการเรียนการสอน การวิจัยและการสร้างนวัตกรรม ตลอดจนการ ปฏิบัติหน้าที่อื่นให้สอดคล้องกับมาตรา 5 ประกอบมาตรา 5 (3) กำหนดให้ตอบสนองยุทธศาสตร์ชาติ แผนแม่บท แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติแผนการศึกษาแห่งชาติ และแผนด้านการ อุดมศึกษา ซึ่งยุทธศาสตร์ชาติ พ.ศ. 2561 – 2580 ด้านการปรับสมดุลและพัฒนาระบบการบริหาร จัดการภาครัฐ ตามข้อ 4.8.4 กำหนดให้ ส่งเสริมระบบยุติธรรมทางเลือก ระบบยุติธรรมชุมชน และ การมีส่วนร่วมของประชาชนในกระบวนการยุติธรรม ส่งเสริมให้มีการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทก่อนเข้าสู่ กระบวนการยุติธรรม ประกอบกับเจตนารมณ์ของระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการเสริมสร้าง ความสมานฉันท์แห่งชาติ พ.ศ. 2550 ต้องการส่งเสริมเสริมกระบวนการยุติธรรมทางเลือก ภายใต้การ เสริมสร้างความสมานฉันท์ โดยมีหลักการเกี่ยวกับการมีส่วนร่วม การเจรจา เพื่อจัดการกับปัญห า

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3