การศึกษาอิสระ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
81 อัตราค่าเบี้ยประชุม ค่าตอบแทน ค่ารับรอง หรือค่าใช้จ่ายอื่นใดที่เกิดจากการดำเนินการประชุมของ คณะกรรมการ หมวดดังกล่าว มีประเด็นที่สำคัญ คือ องค์ประกอบของคณะกรรมการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท ทางปกครอง คุณสมบัติทั่วไปและไม่มีลักษณะต้องห้าม และอำนาจหน้าที่ ผู้วิจัยได้รวบรวมข้อมูลจาก การสัมภาษณ์เชิงลึก และวิเคราะห์ถึงข้อกฎหมาย แนวคิด ทฤษฎี และบริบทของมหาวิทยาลัย ในกำกับของรัฐ เพื่อสร้างรูปแบบของคณะกรรมการไกล่เกลี่ยข้อพิพาททางปกครอง ประกอบด้วย บุคคล ดังนี้ 1) ผู้ทรงคุณวุฒิภายนอกจากศาลปกครอง เป็นประธานกรรมการ ซึ่งมีความรู้และความ เข้าใจในบริบทของมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐและมีความเชี่ยวชาญทางด้านการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท ทางปกครอง เพื่อจะได้สร้างความร่วมมือกับศาลปกครองสร้างระบบการไกล่เกลี่ยให้มีประสิทธิภาพ ช่วยลดความขัดแย้งของคนในองค์กรและลดจำนวนคดีขึ้นสู่ศาลปกครอง 2) ผู้ทรงคุณวุฒิภายนอกจากกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) จำนวนหนึ่งคน เป็นกรรมการ ซึ่งมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) 3) ผู้ทรงคุณวุฒิภายนอกจากกระทรวงการคลัง จำนวนหนึ่งคน เป็นกรรมการ เนื่องจาก มหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐมีทั้งที่เป็นเงินรายได้ของมหาวิทยาลัยและเงินรายได้แผ่นดิน หากเรื่องใด ที่เกี่ยวข้องกับเงินรายได้แผ่นดิน และต้องการเข้าสู่กระบวนการไกล่เกลี่ย ต้องได้รับความยินยอมจาก กระทรวงการคลังก่อน เพื่อให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนด จึงต้องอาศัยความร่วมมือจาก กระทรวงการคลังเพื่อลงมาพิจารณาร่วมกันไกล่เกลี่ยข้อพิพาททางปกครองในมหาวิทยาลัย 4) ผู้ทรงคุณวุฒิภายนอกจากมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ จำนวนหนึ่งคน เป็นกรรมการ เพื่อเป็นการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างหน่วยงานด้วยกัน และเพื่อช่วยกันถอดบทเรียนจาก การไกล่เกลี่ยข้อพิพาททางปกครอง นำไปสู่การร่วมกันแก้ไขปัญหาที่ต้นเหตุ 5) รองอธิการบดีที่ได้รับมอบหมาย เป็นกรรมการ ซึ่งมีความเชี่ยวชาญด้านสัญญา ประกาศ ระเบียบหรือข้อบังคับว่าด้วยการบริหารงานบุคคลที่ใช้ในการปฏิบัติงาน เนื่องจากข้อพิพาท ทางปกครองของมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐส่วนใหญ่เป็นข้อพิพาทเกี่ยวกับสัญญาทางปกครองและ คำสั่งทางปกครอง 6) หัวหน้าศูนย์รับข้อร้องเรียน จำนวนหนึ่งคน เป็นกรรมการ ตามประกาศมหาวิทยาลัย ที่เกี่ยวข้องกับการจัดการข้อร้องเรียน โดยส่วนใหญ่เป็นรองอธิการบดีที่กำกับดูแลด้านทรัพยากร บุคคล ทำหน้าที่รับข้อร้องเรียนและมีอำนาจไกล่เกลี่ยข้อพิพาทได้ก่อนเสนออธิการบดีแต่งตั้ง
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3