การศึกษาอิสระ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
83 เป็นคุณสมบัติพื้นฐานที่ผู้ทำหน้าที่ไกล่เกลี่ยควรมีในการพิจารณาทางปกครอง ซึ่งสอดคล้องกับมาตรา 13 ประกอบมาตรา 16 แห่งพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 ส่วนการผ่าน อบรมหลักสูตรดังกล่าว หน่วยงานทางปกครองอาจเป็นผู้ดำเนินการเอง หรือให้ผู้ทำหน้าที่ไกล่ เกลี่ย เข้าร่วมอบรมหลักสูตรตามที่กฎหมายกำหนดก็ได้ เพื่อเป็นความยืดหยุ่นของการปฏิบัติงาน สำหรับลักษณะต้องห้าม ได้แก่ (1) เป็นผู้เคยถูกจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก เว้นแต่ในความผิดอันได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ (2) เป็นผู้เคยถูกลงโทษให้ออก ปลดออก หรือไล่ออก จากส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ องค์การมหาชน หรือหน่วยงานอื่นของรัฐ และ (3) เป็นบุคคลล้มละลาย คนไร้ความสามารถ หรือคนเสมือนไร้ความสามารถ ส่วนอำนาจและหน้าที่ของคณะกรรมการไกล่เกลี่ยข้อพิพาททางปกครอง มีดังนี้ 1) พิจารณาข้อร้องเรียน และแนะนำแก่คู่กรณีทราบถึงหลักการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท ทางปกครอง 2) ส่งเรื่องให้ศูนย์รับข้อร้องเรียนเมื่อดำเนินการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทไม่สำเร็จ หรือส่งเรื่องต่อ ให้คณะกรรมการอุทธรณ์และร้องทุกข์ หรือคณะกรรมการที่มีอำนาจรับเรื่องไว้พิจารณาต่อ 3) เสนอแนะระบบและกลไกการกำกับดูแลด้านการไกล่เกลี่ยข้อพิพาททางปกครอง ในมหาวิทยาลัย 4) ส่งเสริมสนับสนุนการเผยแพร่ความรู้ความเข้าใจในหลักการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท ทางปกครอง เพื่อให้เกิดความตระหนัก และสามารถนำไปปฏิบัติอย่างมีประสิทธิภาพและ เกิดประสิทธิผล 5) ทำหนังสือเรียกให้ผู้ปฏิบัติงานในมหาวิทยาลัย หรือผู้เกี่ยวข้อง มาชี้แจงให้ความเห็น หรือจะส่งเอกสารข้อมูลตามสมควร เพื่อให้การปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการเป็นไปอย่างมี ประสิทธิภาพ 6) แต่งตั้งผู้ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทในแต่ละกรณี เพื่อทำการใด ๆ อันอยู่ในหน้าที่และอำนาจ ของคณะกรรมการ 7) เสนอแนะให้สภามหาวิทยาลัยออกข้อบังคับ ระเบียบ ประกาศที่เกี่ยวข้องกับการ ดำเนินการของคณะกรรมการ 8) ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่สภามหาวิทยาลัยมอบหมาย (2) หมวด 3 การไกล่เกลี่ยข้อพิพาททางปกครอง ข้อ 10 – 12 ได้กำหนดระบบการจัดการ ข้อพิพาท สามารถแบ่งได้เป็น 3 กรณี คือ (1) กรณีดำเนินการทางวินัย จรรยาบรรณหรือธรรมาภิบาล และจริยธรรม และความรับผิดทางละเมิด (2) กรณีการดำเนินการอุทธรณ์และร้องทุกข์ประจำ
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3