การศึกษาอิสระ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ

86 บทที่ 5 สรุปผล อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ 5.1 สรุปผล การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาการไกล่เกลี่ยข้อพิพาททางปกครอง ในมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ เพื่อศึกษาแนวคิด ทฤษฎีและหลักการที่เกี่ยวข้องกับการไกล่เกลี่ย ข้อพิพาททางปกครองในมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ เพื่อศึกษากฎหมายไทยและต่างประเทศ และจากการสัมภาษณ์เชิงลึกเกี่ยวข้องกับการไกล่เกลี่ยข้อพิพาททางปกครอง เพื่อหารูปแบบที่ เหมาะสมในการไกล่เกลี่ยข้อพิพาททางปกครองในมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ จากการศึกษาการไกล่เกลี่ยข้อพิพาททางปกครองในมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ พบว่า การไกล่เกลี่ยข้อพิพาททางปกครองของกฎหมายไทยและสาธารณรัฐฝรั่งเศสแตกต่างกัน เนื่องจากสาธารณรัฐฝรั่งเศสให้อำนาจคู่กรณีมอบบุคคลอื่นที่ไม่ใช่ตุลาการศาลปกครองทำหน้าที่เป็น ผู้ไกล่เกลี่ยได้ ขณะที่ประเทศไทยกำหนดให้เพียงแต่ตุลาการศาลปกครองเป็นผู้ไกล่เกลี่ยข้อพิพาท เท่านั้น สำหรับคดีข้อพิพาทที่เกิดขึ้นในมหาวิทยาลัยที่สามารถไกล่เกลี่ยได้ มี 3 กรณี คือ 1) ก่อน ดำเนินการทางวินัย จรรยาบรรณหรือธรรมาภิบาลและจริยธรรมและความรับผิดทางละเมิด กรณี มีการละเลยต่อหน้าที่หรือปฏิบัติหน้าที่ล่าช้าเกินสมควร หรือกระทำละเมิดทางปกครอง 2) กรณี อุทธรณ์และร้องทุกข์ เมื่อผู้ปฏิบัติงานในมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐเห็นว่าตนไม่ได้รับความเป็นธรรม หรือมีความคับข้องใจเนื่องจากการกระทำหรือคำสั่งของผู้บังคับบัญชา และ 3) ข้อพิพาท อันสืบเนื่องมาจากสัญญาทางปกครองก่อนที่จะนำคดีไปฟ้องต่อศาลปกครอง ส่วนข้อพิพาทที่ ไม่สามารถไกล่เกลี่ยได้ มี 2 กรณี คือ เมื่ออธิการบดีใช้ดุลพินิจออกเป็นคำสั่งทางปกครองแล้ว และการกระทำที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดี หรือที่ก่อให้เกิดความเสียหายอย่าง ร้ายแรงต่อมหาวิทยาลัย ทั้งกรณีไกล่เกลี่ยได้และไกล่เกลี่ยไม่ได้ ยังไม่มีกฎหมายรองรับ สามารถ อภิปรายผลการวิจัยในหัวข้อต่อไป 5.2 อภิปรายผล 5.2.1 กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการไกล่เกลี่ยข้อพิพาททางปกครอง การไกล่เกลี่ยข้อพิพาททางปกครองของกฎหมายไทยและสาธารณรัฐฝรั่งเศสแตกต่างกัน เนื่องจากสาธารณรัฐฝรั่งเศสให้อำนาจคู่กรณีมอบบุคคลอื่นที่ไม่ใช่ตุลาการศาลปกครองทำหน้าที่

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3