การศึกษาอิสระ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
87 เป็นผู้ไกล่เกลี่ยได้ ขณะที่ประเทศไทยกำหนดให้เพียงแต่ตุลาการศาลปกครองเป็นผู้ไกล่เกลี่ยข้อพิพาท เท่านั้น เนื่องจากตุลาการผู้ไกล่เกลี่ยย่อมต้องศึกษาถึงสภาพของข้อเท็จจริงที่จะทำการไกล่เกลี่ย พฤติกรรมของคู่กรณีในการไกล่เกลี่ย และพฤติการณ์แวดล้อมอื่นที่เกี่ยวข้อง ย่อมเป็นผู้กำหนดเวลาที่ เหมาะสมให้เป็นไปตามที่กฎหมายกำหนดได้ ( คำชี้แจงเหตุผลรายประเด็นในการรับฟังความเห็นร่าง พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง (ฉบับที่ ...) พ.ศ. .... (ในส่วนที่ เกี่ยวข้องกับการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทในคดีปกครอง) , 2561) จากข้อค้นพบการวิจัยและข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับการไกล่เกลี่ยข้อพิพาททางปกครอง ดังกล่าวข้างต้น นำไปสู่การปรับปรุงแก้ไขพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดี ปกครอง พ.ศ. 2542 มาตรา 66/1 วรรคหนึ่งตอนท้าย จากเดิมมาตรา 66/1 วรรคหนึ่ง กำหนดให้ “ศาลปกครองชั้นต้นมีอำนาจไกล่เกลี่ยข้อพิพาทในคดีที่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาล ปกครองชั้นต้น และศาลปกครองสูงสุดมีอำนาจไกล่เกลี่ยข้อพิพาทในคดีที่อยู่ในอำนาจพิจารณา พิพากษาของศาลปกครองสูงสุดซึ่งฟ้องเป็นครั้งแรกต่อศาลปกครองสูงสุด” การไกล่เกลี่ยข้อพิพาททางปกครองในมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐสามารถทำได้ในหลาย กรณี แต่เนื่องจากติดขัดเรื่องของการไม่มีกฎหมายรองรับในการไกล่เกลี่ยก่อนฟ้องคดีต่อศาลปกครอง ผู้วิจัยเสนอแนะให้ปรับปรุงกฎหมายโดยเพิ่มเติมมาตรา 66/1 วรรคหนึ่งตอนท้าย กำหนดให้ “ศาลปกครองชั้นต้นมีอำนาจไกล่เกลี่ยข้อพิพาทในคดีที่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของ ศาลปกครองชั้นต้น และศาลปกครองสูงสุดมีอำนาจไกล่เกลี่ยข้อพิพาทในคดีที่อยู่ในอำนาจพิจารณา พิพากษาของศาลปกครองสูงสุดซึ่งฟ้องเป็นครั้งแรกต่อศาลปกครองสูงสุด ทั้งนี้ หน่วยงาน ทางปกครองสามารถไกล่เกลี่ยข้อพิพาททางปกครองได้ก่อนนำคดีขึ้นสู่ศาล” ดังนั้น เพื่อให้มหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐซึ่งเป็นหน่วยงานทางปกครองสามารถ ออกข้อบังคับ ระเบียบ หรือประกาศอื่นใดที่สามารถมีอำนาจในการจัดการข้อพิพาททางปกครองที่ เกิดขึ้นภายในมหาวิทยาลัยโดยการ “ไกล่เกลี่ยข้อพิพาททางปกครอง” ได้อย่างมีประสิทธิภาพและ เป็นรูปธรรมมากขึ้นภายใต้การกระทำทางปกครองต้องไม่ขัดต่อกฎหมาย และหลักไม่มีกฎหมาย ไม่มีอำนาจ ซึ่งสอดคล้องกับแนวคิดเกี่ยวกับรัฐสมัยใหม่และการจัดการภาครัฐสมัยใหม่ที่คำนึงถึง หลักความคุ้มค่า และแนวคิดเกี่ยวกับการจัดการความขัดแย้ง เพื่อใช้ในการออกกฎหมาย ให้มีความเชื่อมโยงกันในหลายมิติ เป็นการสร้างความสมานฉันท์ระหว่างคนในองค์กร เป็นไปตาม หลักธรรมาภิบาล ซึ่งเป็นหลักการบริหารกิจการบ้านเมืองและสังคมที่ดี
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3