การศึกษาอิสระ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ

88 5.2.2 การไกล่เกลี่ยข้อพิพาททางปกครองในมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ มหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐมีระบบการจัดการข้อพิพาท สามารถแบ่งได้เป็น 3 กรณี ดังนี้ 1) สำหรับข้อพิพาททางปกครองที่เกิดขึ้นในมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐที่สามารถ ไกล่เกลี่ยได้ก่อนเข้าสู่การดำเนินการทางวินัย จรรยาบรรณหรือธรรมาภิบาลและจริยธรรม และ ความรับผิดทางละเมิด มี 2 กรณี คือ กรณีผู้ปฏิบัติงานในมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐถูกกล่าวหา โดยมีหลักฐานตามสมควรว่าละเลยต่อหน้าที่หรือปฏิบัติหน้าที่ล่าช้าเกินสมควร และการกระทำละเมิด ทางปกครอง ส่วนข้อพิพาทที่ไม่สามารถไกล่เกลี่ยได้ คือ กรณีกระทำการฝ่าฝืนกฎหมายหรือ ต้องห้ามชัดแจ้ง ความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน หรือก่อให้เกิดความเสียหาย ต่อมหาวิทยาลัยอย่างร้ายแรง 2) สำหรับข้อพิพาททางปกครองที่เกิดขึ้นในมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐที่สามารถ ไกล่เกลี่ยได้ก่อนเข้าสู่การดำเนินการอุทธรณ์และร้องทุกข์ประจำมหาวิทยาลัย คือ กรณีผู้ปฏิบัติงาน ในมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐเห็นว่าตนไม่ได้รับความเป็นธรรมหรือมีความคับข้องใจเนื่องจากการ กระทำหรือคำสั่งของผู้บังคับบัญชา ส่วนข้อพิพาททางปกครองที่เกิดขึ้นในมหาวิทยาลัยในกำกับของ รัฐที่ไม่สามารถไกล่เกลี่ยได้ก่อนเข้าสู่การดำเนินการอุทธรณ์และร้องทุกข์ประจำมหาวิทยาลัย คือ กรณีผู้ปฏิบัติงานในมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐหรือนิสิตผู้ใดถูกลงโทษทางวินัย เป็นข้อพิพาท อันเนื่องมาจากการกระทำทางปกครองฝ่ายเดียว ซึ่งเป็นข้อพิพาทเกี่ยวกับการที่หน่วยงาน ทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐกระทำการโดยออกกฎ คำสั่งหรือการกระทำอื่นใด 3) ข้อพิพาททางปกครองอันเนื่องมาจากสัญญาทางปกครอง สามารถจัดการความขัดแย้ง โดยการไกล่เกลี่ยข้อพิพาททางปกครองก่อนการฟ้องคดีต่อศาลปกครอง จากที่กล่าวมาข้างต้น ควรมีการจัดทำกลไกการไกล่เกลี่ยในมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ อย่างเป็นระบบ และจำเป็นต้องพิจารณาถึงข้อบังคับของแต่ละมหาวิทยาลัยซึ่งมีอำนาจในการออก ข้อบังคับ ผู้วิจัยจึงได้จัดทำรูปแบบ(ร่าง) ข้อบังคับมหาวิทยาลัยว่าด้วยการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท ทางปกครอง โดยเป็นต้นแบบให้กับมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ ซึ่งมีทั้งหมด 16 ข้อ แบ่งเป็น 5 หมวด ประกอบด้วย หมวด 1 บททั่วไป ข้อ 1 – 4 หมวด 2 คณะกรรมการไกล่เกลี่ยข้อพิพาททาง ปกครอง ข้อ 5 – 9 หมวด 3 การไกล่เกลี่ยข้อพิพาททางปกครอง ข้อ 10 – 12 หมวด 4 การ ดำเนินการ ข้อ 13 – 14 และหมวด 5 ผลการไกล่เกลี่ยข้อพิพาททางปกครอง ข้อ 15 – 16 โดยร่างฉบับนี้ มีสาระสำคัญ 3 ประการ คือ องค์ประกอบของคณะกรรมการไกล่เกลี่ย ข้อพิพาททางปกครอง คุณสมบัติและการดำเนินการ ดังนี้

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3