การศึกษาอิสระ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
3 การเลี้ยงกุ้งทะเลแม้ว่ามีความสำคัญต่อเศรษฐกิจของประเทศไทยและสร้างรายได้ให้กับ ผู้ประกอบการเลี้ยงกุ้งทะเลและชาวบ้านในชุมชนท้องถิ่นนั้น ๆ ก็ตาม แต่ยังต้องตระหนักถึง ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะน้ำเสียที่เกิดจากวิธีการเลี้ยงกุ้งทะเล การให้อาหาร การใช้ สารเคมี หรือของเสียจากการขับถ่ายของกุ้งทะเล รวมทั้งน้ำเค็มในบ่อเลี้ยงกุ้ง ล้วนก่อให้เกิดเป็น แหล่งกำเนิดมลพิษส่งผลต่อทรัพยากรดิน เช่น เกิดตะกอนดินเลนก้นบ่อ การแพร่กระจายของดินเค็ม รวมทั้งมีโอกาสจะเกิดการทิ้งร้างของที่ดินจากการเลี้ยงกุ้งทะเล เป็นต้น ส่งผลต่อทรัพยากรน้ำ เช่น น้ำเสีย น้ำมีคุณภาพลดลง น้ำมีการปนเปื้อนของสารเคมี สัตว์น้ำจืดและน้ำกร่อย เป็นต้น ส่งผล กระทบต่อชุมชน เช่น ก่อให้เกิดกลิ่น ขาดแหล่งน้ำอุปโภค และในบางครั้งก็เกิดโรคระบาด เป็นต้น เนื่องจากขาดการควบคุมการปล่อยน้ำเสียจากบ่อเลี้ยงกุ้งทะเลและจัดการน้ำเสียของผู้ประกอบการ เลี้ยงกุ้งและชาวบ้านเป็นปัจจัยสำคัญต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมที่ประชาชนอยู่อาศัย ดังนั้น การเลี้ยงกุ้งทะเลแม้จะมีผลดีต่อเศรษฐกิจและรายได้ของประเทศชาติเพียงใด แต่สิ่งที่สำคัญยิ่งกว่าก็ คือการควบคุมและดูแลผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพของประชาชนที่จะตามมาด้วย เนื่องจาก เป็นผลกระทบที่สำคัญและสะสมในระยะยาวได้ แม้รัฐจะมีกฎหมายมาใช้บังคับเพื่อแก้ไขปัญหาที่ เกิดขึ้น แต่ ณ ปัจจุบันยังคงมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมที่เกิดจากการปล่อยน้ำเสียสู่พื้นดินและพื้นน้ำ ของผู้ประกอบการและชาวบ้านที่เลี้ยงกุ้งทะเล ปัญหาการกำหนดค่ามาตรฐานการควบคุมการระบายน้ำทิ้งที่ไม่สอดคล้องกับพื้นที่ของการ เลี้ยงกุ้งทะเล ต้องปฏิบัติตามประกาศกรมประมง เรื่อง “ข้อกำหนดให้ผู้ประกอบกิจการเพาะเลี้ยงกุ้ง ทะเลซึ่งเป็นกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุมภายในเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ตามมาตรา 77 แห่งพระ ราชกำหนดการประมง พ.ศ. 2558 ต้องปฏิบัติ พ.ศ. 2562” ซึ่งประกาศฉบับดังกล่าวออกโดยอาศัย อำนาจตามมาตรา 78 แห่งพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. 2558 กำหนดค่ามาตรฐานการระบายน้ำ ทิ้งจากกิจการการเพาะเลี้ยงกุ้งทะเล สำหรับประเด็นค่ามาตรฐานควบคุมการระบายน้ำทิ้งในกรณี พื้นที่บ่อต่ำกว่า 10 ไร่ ได้กำหนดมาตรฐานในการควบคุมการระบายน้ำทิ้งไว้เพียงเล็กน้อย กล่าวคือ กำหนดไว้เฉพาะค่าความเป็นกรดและด่าง รวมถึงความเค็มเท่านั้น ซึ่งไม่ครอบคลุมไปถึงประเด็นของ สารเคมีหรือสารอื่น ๆ แต่เมื่อเปรียบเทียบกับค่ามาตรฐานการระบายน้ำทิ้งในพื้นที่บ่อตั้งแต่ 10 ไร่ขึ้น ไป ปรากฏว่ากำหนดค่ามาตรฐานควบคุมการระบายน้ำทิ้งอย่างละเอียดครอบคลุมในทุกด้านทุกมิติ กล่าวคือ ครอบคลุมในประเด็นของสารเคมีและสารอื่น ๆ ด้วย ได้แก่ บีโอดี สารแขวนลอย แอมโมเนีย ฟอสฟอรัสรวม ไฮโดรเจนซัลไฟด์ ไนโตรเจนรวม ซึ่งสารดังกล่าวที่หากควบคุมได้ก็ส่งผล ให้สามารถช่วยลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมที่จะเกิดขึ้นจากการระบายน้ำทิ้งของการเลี้ยงกุ้งทะเลได้ ในการเลี้ยงกุ้งทะเลไม่ว่าพื้นที่เลี้ยงกุ้งจะมีขนาดเท่าใดก็ตามมีการให้อาหาร กระบวนการเลี้ยง และใช้
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3